วันเสาร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน 4

แบบฝึกหัด

บทที่ 2


เรื่อง กฎหมายรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
ตอบ     ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกคือ สมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ถือเป็นฉบับแรกคณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาคือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา2475, 536)
.........................................................................................................................................................................................
2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2429 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
ตอบ     แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2429 ได้กำหนดว่า
          หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรม นั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดี มีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
มาตรา 65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา, 2492, 25-27)
............................................................................................................................................................................
3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ปีพุทธศักราช 2511 ไม่ได้กล่าวถึงว่า สถานศึกษาของท้องถิ่นพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ เหมือนกับปีพุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 อีกประการหนึ่งคือ ปีพุทธศักราช 2511 และ พุทธศักราช 2517 ไม่ได้ กล่าวถึงว่า การศึกษาอบรมขั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้โดยอิสระในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ แต่ในปีพุทธศักราช 2521 ได้มีการบัญญัติขึ้นเพิ่มเติม
............................................................................................................................................................................
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 และประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517  มีความแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากนัก มีมาตราที่เกี่ยวข้อง เพียง 1 หมวด 1 มาตรา โดยกล่าวถึงสิทธิและเสรีภาพ ในการพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ อย่างรวมๆ แต่ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492-2517 กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา โดยละเอียดมากขึ้น โดยเขียนแบ่งออกเป็น 2 หมวด 5 มาตรา แต่ละมาตราจะเขียนกำกับไว้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า บุคคลจะมีสิทธิและเสรีภาพได้แค่เพียงขั้นไหน และยังได้กล่าวถึงนโยบายที่รัฐจะต้องให้การสนับสนุนทางการศึกษาเพิ่มขึ้น
.........................................................................................................................................................................................
5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ตอบ     ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 และประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 มีความเหมือนกันค่อนข้างมาก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ได้มีการกล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และยังได้กล่าวถึง การส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐเพิ่มขึ้น
.........................................................................................................................................................................................
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
ตอบ     เพราะหากรัฐไม่ได้ระบุถึงการจัดการศึกษาที่เป็นธรรมและทั่วถึงแล้ว จะทำให้คนในประเทศเกิดความเลื่อมล้ำกันทางการศึกษา บุคคลกลุ่มหนึ่งจะได้รับความรู้ความก้าวหน้าในด้านต่างๆ รอบตัวตลอดเวลา แต่บุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะไม่สามารถรับรู้สิ่งต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นได้เลย หากรัฐไม่เข้ามาช่วยเหลือและเปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นได้รับการศึกษาอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม
.........................................................................................................................................................................................
7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
ตอบ     เมื่อรัฐมีการกำหนดให้บุคคลทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพทางการศึกษาแล้ว รัฐจะต้องมีการกำกับเงื่อนไข และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติขึ้นควบคู่ไว้ด้วย เพื่อป้องกันการศึกษาที่ไม่เหมาะสม ไม่ถูกไม่ควร อันจะส่งผลกระทบต่อประเทศชาติไปในทางที่ไม่ดี หากมีบุคคลทำการศึกษาและให้ความจิงจังในการลงมือปฏิบัติ หรือการรวมกลุ่มกันเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง
.........................................................................................................................................................................................
8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา หากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     รัฐธรรมนูญฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550) มาตรา 80 (2) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ หากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรปกครองท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น จะส่งผลให้คนในประเทศได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน และมีความทั่วถึงยิ่งขึ้น เพราะในส่วนของรัฐเอง คงจะไม่สามารถที่จะลงมาให้ความช่วยเหลือกับบุคคลที่อยู่ในส่วนท้องถิ่นได้อย่างเต็มที่ แต่หากมีการกระจายอำนาจให้คนในพื้นที่ได้ช่วยเหลือดูแลกันในด้านการศึกษาจะทำให้บุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ที่ทั่วถึงมากกว่า
.........................................................................................................................................................................................

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
ตอบ     เพื่อให้ทุกคนในประเทศได้รับความเท่าเทียมกันทุกคน แม้ว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีสถานภาพทางสังคมที่ด้อยกว่าผู้อื่น หรือมีวุฒิภาวะที่แตกต่างกันก็ตามทุกคนล้วนมีสิทธิและเสรีภาพ รัฐจึงต้องเข้าไปช่วยเหลือและให้ความคุ้มครอง พัฒนาและส่งเสริมให้มากขึ้นยิ่งกว่าบุคคลปกตินั้นเอง
.........................................................................................................................................................................................
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     ผลจากการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ ประชาชนได้รับการศึกษา ได้มีความรู้ในการประกอบอาชีพสร้างรายได้ให้คนในชาติ ได้ทำให้ประชาชนมีการเปิดกว้างทางการศึกษาในการพบบุคคลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ที่มี ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติได้จริงมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้รับความรู้เชิงประสบการณ์มากกว่าการศึกษาแต่ภายในห้องเรียน
........................................................................................................................................................................................

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน3

แบบฝึกหัด 

บทที่

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ     มนุษย์เราต้องมีกฎหมาย เพราะมนุษย์เราอยู่รวมกันเป็นสังคม ซึ่งในการอยู่รวมกันนั้นอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน จึงทำให้มนุษย์ต้องสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนเพื่อควบคุมความประพฤติและความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม รวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่เรียกว่า กฎหมาย หากไม่มีกฎหมายสังคมมนุษย์จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้นั้นเอง
............................................................................................................................................................................................
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะสามารถอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ     หากไม่มีกฎหมาย สังคมปัจจุบันจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะปัจจุบันนี้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างด้านความคิดเห็น และมีเสรีภาคมากขึ้นกว่าในอดีต การเปิดกว้างด้านความคิดของสังคมมนุษย์นั้นเอง จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในการแสดงความคิดเห็นที่มีเจตคติเดียวกัน อันจะมีผลไปยังการลงมือกระทำบางสิ่งบางอย่างต่อไป หากเป็นเจตคติในด้านที่ดี ก็จะสามารถพัฒนาสังคมของตนเองได้ แต่หากเป็นเจตคติในด้านที่ไม่ดีจะทำให้เกิดผลร้ายแรงต่อสังคมนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลเสียหายไปยังประเทศได้ในที่สุด
.........................................................................................................................................................................................
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ     ก. ความหมาย
          กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
          ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ
1. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดเป็นคน 
   ออกคำสั่ง เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นต้น
2. กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศหรือแถลงการณ์
3. กฎหมายใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
4. กฎหมายมีสภาพบังคับ จ้ะองปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
ค. ที่มาของกฎหมาย
          ที่มาหรือรูปแบบของกฎหมายในประเทศไทยที่แสดงออกมา พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
   พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลาย
   ลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนา
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาล
   ชั้นต้นต้องถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
5. ความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือ
   ไม่
ง. ประเภทของกฎหมาย
          การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดในการแบ่ง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
          แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่ใช้ในประเทศ มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
-แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
-แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
-แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
-แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
       -แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อ
ตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้าย
ข้ามให้แก่กัน
..............................................................................................................................................................................
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ     ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะไม่ว่าประเทศใดต่างก็มีความต้องการให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในประเทศของตน ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน หากไม่มีกฎหมายไม่ว่าประเทศใดก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้
.........................................................................................................................................................................................
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือการดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการงดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย
.........................................................................................................................................................................................
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ     สภาพบังคับทางอาญา และทางแพ่ง มีความต่างกัน คือ กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา ส่วนกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
.........................................................................................................................................................................................
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     ระบบกฎหมายแบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
          1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่าเอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
...........................................................................................................................................................................
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ    การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดในการแบ่ง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
          แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่ใช้ในประเทศ มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
1.1 แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
1.2 แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
          1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทาผิดทางอาญา  
1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สาหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
1.3 แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึง
การกระทาที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทาผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
                   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดาเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทาผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทาผิด สาหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆไว้ เป็นวิธีการดาเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคาพิพากษา
1.4 แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทาผิด สาหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
          1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จากัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทานิติกรรมสัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน โดยการทาสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
2.1 แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
          2.1.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
          2.1.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
          2.1.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทาผิดนอกประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
.............................................................................................................................................................
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ     ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
          มีการแบ่งซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลาดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
         1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
         2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
         3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ     รัฐบาลกระทำผิด เพราะประชาชนได้ประกาศไว้แล้วว่าจะมีการประชุมอย่างสงบสุข การที่รัฐบาลได้ประกาศขัดขวางไม่ให้ประชาชนประชุมอย่างสงบ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และแสดงออกถึงว่ารัฐบาลไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจในประชาชนของตนเอง
.........................................................................................................................................................................................
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ     กฎหมายการศึกษา คือบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน เพื่อนาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
.........................................................................................................................................................................................
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ    ถ้าไม่ได้ศึกษากฎหมายการศึกษาก่อนที่จะไปประกอบวิชาชีพครู ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่กระทำอยู่นั้นมีความเหมาะสมกับนักเรียนแล้วหรือไม่ และสิ่งที่กระทำกับนักเรียนไปนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดต่อตัวคุณครูและตัวนักเรียน
.........................................................................................................................................................................................

วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน2

พระไม่ดี กับ สีกาเลว


          พระก็คือคน สีกาก็คือคน มีอารมณ์ มีรักโลภ โกรธหลงได้เช่นกัน การเกิดเหตุคดีสำคัญๆ ที่ทำให้ศาสนามัวหมอง เป็นเพราะพระที่ไม่ดีกระทำผิดวินัยสงฆ์ และสีกาที่เขาไปพัวพันกับพระสงฆ์เองก็จะต้องถูกลงโทษตามกฎหมายด้วยเช่นกัน สำหรับเรื่องพระสงฆ์ที่ดีก็มีมากมาย น่าเลื่อมใส น่ากราบไหว้บูชา แต่ก็มีบางคน เข้ามาในวงการสงฆ์ แล้วทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการทำผิดศีล มั่วสีกา ดื่มของมึนเมา เป็นตุ๊ดเป็นแต๋ว เดินห้าง ช้อปปิ้ง กินอาหารปิ้งย่างกับสีกา ไปไหนมาไหนกับสีกายามวิกาล แต่ก่อนในวัดมักจะปรากฏข่าวกับแม่ชีซะมากกว่า แต่ปัจจุบันไม่ใช่เสียแล้ว ลามปามออกมานอกวัด ในเรื่องที่สื่อมวลชนลงข่าว พระมั่วสีกา ทั้งตำรวจและชาวบ้านจับกุมได้คาหนังคาเขา ปลากดรูปภาพถ่ายไม่เหมาะสมอยู่ถมไป จึงโทษทั้งพระที่ไม่ดีและสีกาที่เลว เพราะสีกาก็รู้อยู่ว่าคู่นอน คือพระที่ต้องเคารพกราบไหว้ แต่ก็ยังเต็มใจมีความสัมพันธ์ทางเพศด้วยเช่นกัน


สาเหตุ : จากตัวบุคคลภายใน คือ ตัวพระเองที่มาบวชยังไม่สามารถตัดกิเลสตัญหาได้ ไม่เคร่งครัดในศาสนา มาบวชเรียนโดยอาศัยผ้าเหลืองในขณะที่ยังไม่ได้สนใจในพระธรรมคำสอนอย่างจริงจัง ส่วนสาเหตุจากภายนอก มาจากการแต่งกายของคนที่มาเข้าวัดไม่ถูกกาลเทศะ อันก่อให้เกิดการยั่วยุทางเพศได้

แนวทางการแก้ไข : คนที่จะมาบวชเป็นพระ ต้องมีความพร้อมให้มาก สามารถตัดกิเลสตัญหาได้ และมีความตั้งมั่นในการศึกษาข้อปฏิบัติของพระธรรมคำสอน และการแต่งกายของผู้ที่จะมาเข้าวัดเอง จะต้องมีการแต่งกายให้เหมาะสม ถูกต้องตามกาลเทศะ หรืออาจจะมีการกำหนดการแต่งกายในการเข้าวัดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้เป็นหลักปฏิบัติทั่วกัน และสามัญชนคนธรรมดาอย่างเรา ก็ควรช่วยกันเป็นหูเป็นตา เพื่อมิให้มีผู้อื่นมาแอบอ้างใช้ผ้าเหลือไปในทางที่ไม่ดีอีกเช่นเคย

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน1

^-^
ชื่อ นางสาวทิพารมย์  นามสกุล คงเพ็ชร์
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช
ขณะนี้ศึกษาอยู่ หลักสูตรคณิตศาสตร์  คณะครุศาสตร์  
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
เกิดวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2536 ชื่อเล่น : มด 
E-mail : Tiparom42@hotmail.com
                  : ModtanoiKongpeth@gmail.com

ปรัชญา : ชีวิตต้องก้าวไปข้างหน้า เหนื่อยก็หยุดพัก แต่อย่าเดินกลับหลัง :)