วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อนุทิน3

แบบฝึกหัด 

บทที่

เรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไร
ตอบ     มนุษย์เราต้องมีกฎหมาย เพราะมนุษย์เราอยู่รวมกันเป็นสังคม ซึ่งในการอยู่รวมกันนั้นอาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน จึงทำให้มนุษย์ต้องสร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนเพื่อควบคุมความประพฤติและความขัดแย้งของสมาชิกในสังคม รวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมนั้นๆ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานทางสังคมที่เรียกว่า กฎหมาย หากไม่มีกฎหมายสังคมมนุษย์จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้นั้นเอง
............................................................................................................................................................................................
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะสามารถอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ     หากไม่มีกฎหมาย สังคมปัจจุบันจะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะปัจจุบันนี้สังคมมีการเปลี่ยนแปลง เปิดกว้างด้านความคิดเห็น และมีเสรีภาคมากขึ้นกว่าในอดีต การเปิดกว้างด้านความคิดของสังคมมนุษย์นั้นเอง จะเป็นตัวกระตุ้นให้มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มเป็นก้อน ในการแสดงความคิดเห็นที่มีเจตคติเดียวกัน อันจะมีผลไปยังการลงมือกระทำบางสิ่งบางอย่างต่อไป หากเป็นเจตคติในด้านที่ดี ก็จะสามารถพัฒนาสังคมของตนเองได้ แต่หากเป็นเจตคติในด้านที่ไม่ดีจะทำให้เกิดผลร้ายแรงต่อสังคมนั้นๆ ซึ่งจะส่งผลเสียหายไปยังประเทศได้ในที่สุด
.........................................................................................................................................................................................
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ตอบ     ก. ความหมาย
          กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
          ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย ประกอบด้วย 4 ลักษณะ คือ
1. กฎหมายเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดเป็นคน 
   ออกคำสั่ง เช่น รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ เป็นต้น
2. กฎหมายมีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศหรือแถลงการณ์
3. กฎหมายใช้บังคับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค
4. กฎหมายมีสภาพบังคับ จ้ะองปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้
ค. ที่มาของกฎหมาย
          ที่มาหรือรูปแบบของกฎหมายในประเทศไทยที่แสดงออกมา พอที่จะสรุปได้ 5 ลักษณะดังนี้
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
   พระราชกฤษฎีกา เป็นต้น
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลาย
   ลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนา
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาล
   ชั้นต้นต้องถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ
5. ความคิดเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือ
   ไม่
ง. ประเภทของกฎหมาย
          การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดในการแบ่ง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
          แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่ใช้ในประเทศ มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
-แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
-แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
-แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
-แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
       -แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง ส่วนที่ว่าด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อ
ตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมืออย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้าย
ข้ามให้แก่กัน
..............................................................................................................................................................................
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายจงอธิบาย
ตอบ     ทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะไม่ว่าประเทศใดต่างก็มีความต้องการให้ความสงบสุขเกิดขึ้นในประเทศของตน ไม่อยากให้เกิดความขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจกัน มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน หากไม่มีกฎหมายไม่ว่าประเทศใดก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้
.........................................................................................................................................................................................
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     สภาพบังคับในทางกฎหมาย คือการดำเนินการลงโทษหรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเข็ดหลาบหรือหลาบจำ ไม่กล้ากระทำการฝ่าฝืนกฎหมายอีก และรวมไปถึงการบังคับให้กระทำการงดเว้นกระทำการหรือบังคับให้ส่งมอบทรัพย์สินด้วย
.........................................................................................................................................................................................
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ     สภาพบังคับทางอาญา และทางแพ่ง มีความต่างกัน คือ กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา ส่วนกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
.........................................................................................................................................................................................
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ     ระบบกฎหมายแบ่งเป็น 2 ระบบดังนี้
          1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คาพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคาพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของ นักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่า กฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคาว่าเอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นาเอาจารีตประเพณีและคาพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ
...........................................................................................................................................................................
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ    การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่กับว่าจะใช้หลักใดในการแบ่ง โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ดังนี้
          แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายใน และกฎหมายภายนอก
1. กฎหมายภายใน เป็นกฎหมายที่ใช้ในประเทศ มีหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น
1.1 แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร และกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่างๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา หรือ ออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
1.1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
1.2 แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง
          1.2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จาคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทาผิดทางอาญา  
1.2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สาหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทาตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชาระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทาอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
1.3 แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็น กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
1.3.1 กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึง
การกระทาที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด การกระทาผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่นตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
                   1.3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดาเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทาผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทาผิด สาหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆไว้ เป็นวิธีการดาเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคาพิพากษา
1.4 แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
1.4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน
รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทาผิด สาหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
          1.4.2 กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชน จากัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทานิติกรรมสัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพัน โดยการทาสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ
2.1 แบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์ เช่น แบ่งเป็นกฎหมายประเภทแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล และกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
          2.1.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต เอกสิทธิในทางการทูต
          2.1.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ
          2.1.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทาผิดนอกประเทศนั้นได้ เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
.............................................................................................................................................................
9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ     ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน
          มีการแบ่งซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลาดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้ โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
         1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
         2. การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจาเป็นของสังคม
         3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขวางไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ     รัฐบาลกระทำผิด เพราะประชาชนได้ประกาศไว้แล้วว่าจะมีการประชุมอย่างสงบสุข การที่รัฐบาลได้ประกาศขัดขวางไม่ให้ประชาชนประชุมอย่างสงบ ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และแสดงออกถึงว่ารัฐบาลไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจในประชาชนของตนเอง
.........................................................................................................................................................................................
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ     กฎหมายการศึกษา คือบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจ ได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้ การจัดการศึกษามีการปฏิรูปให้สอดคล้องกับภาวะบ้านเมืองปัจจุบัน เพื่อนาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป
.........................................................................................................................................................................................
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ    ถ้าไม่ได้ศึกษากฎหมายการศึกษาก่อนที่จะไปประกอบวิชาชีพครู ก็จะไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งที่กระทำอยู่นั้นมีความเหมาะสมกับนักเรียนแล้วหรือไม่ และสิ่งที่กระทำกับนักเรียนไปนั้นอาจจะเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลกระทบที่ไม่คาดคิดต่อตัวคุณครูและตัวนักเรียน
.........................................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น