วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 11.1

ให้นักศึกษาอ่านระเบียบต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อนักศึกษาอ่านระเบียบแล้วให้สรุปประเด็นที่สำคัญ เช่น ระเบียบกระทรวงศึกษาว่าด้วยเรื่องอะไร  ประกาศใช้เมื่อใด ใครเป็นผู้ลงนามในระเบียบนั้น  เนื้อหาสาระที่ได้หรือค้นพบจากระเบียบนี้ ที่จะต้องนำไปปฏิบัติคือประเด็นใด โดยสรุปตามหัวข้อระเบียบที่กำหนดไว้  ดังหัวข้อดังต่อไปนี้ (31 ตัวระเบียบ ลงในบล็อกของนักศึกษา)
1. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขอบคุณและอนุโมทนา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุประเบียบนี้ คือ
ข้อ 4 เมื่อผู้บริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือแรงงาน ไม่ว่ารายเดียวหรือหลายรายให้แก่ส่วนราชการและสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้ ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศ เกียรติคุณบัตร
(1)    รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สำหรับการบริจาคตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป
(2)    หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดที่ได้รับประโยชน์ สำหรับการบริจาคตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10   ล้านบาท
(3)    ผู้อำนวยการสำนัก ผู้อำนวยการสำนักบริหารงาน หัวหน้าส่วนราชการที่เรียกชื่ออ่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่า  สำนักหรือสำนักบริหารงาน ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ที่ได้  รับประโยชน์ สำหรับการบริจาคไม่ถึง 5 ล้านบาท
ข้อ 5 ถ้าบริจาครายเดียวหรือหลายรายตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป เพื่อจัดสร้างสถานที่เป็นประโยชน์แก่
ส่วนราชการหรือสถานศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อได้ตอบขอบคุณหรืออนุโมทนาและออกประกาศเกียรติคุณบัตรแล้ว หากผู้บริจาคแสดงความจำนงของพระบรมฉายาลักษณ์เป็นเกียรติยศแก่สถานที่ที่ได้สร้างขึ้นด้วยนั้น ให้หัวหน้าส่วนราชการที่ได้รับประโยชน์รายงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณานำความกราบบังคมทูลฝ่าละอองธุลีพระบาทขอรับพระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์สำหรับประดิษฐาน ณ สถานที่ที่ได้สร้างขึ้นนั้น
ข้อ 6 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
2. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการประชาสัมพันธ์และการให้ข่าวสาร พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
การประชาสัมพันธ์ หมายความว่า การติดต่อ การสื่อสาร การติดตาม การสอบถาม การรับฟัง การประสานงาน การให้สัมภาษณ์ การชี้แจง การแถลง การเผยแพร่ การโฆษณา และวิธีการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน เกี่ยวกับข่าวสารตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้าราชการ หมายความว่า ข่าวเกี่ยวกับนโยบาย แผนการปฏิบัติงาน และผลงานของส่วนราชการหรือหน่วยงานในสังกัด
การให้ข่าวราชการหมายความว่า การเผยแพร่ข่าวราชการ และให้ความหมายถึงการให้สัมภาษณ์ที่จัดทำโดยผ่านสื่อมวลชนด้วย
ส่วนราชการ หมายความว่า ส่วนราชการในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้หมายความรวมถึงหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลในสายบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
หัวหน้าส่วนราชการ หมายความว่า ปลัดกระทรวง เลขาธิการ อธิบดีหรือตำแหนงที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเป็นอธิบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการที่ไม่มีฐานะเป็นกรม และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าหน่วยงานในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
ข้อ 5 การประชาสัมพันธ์ หรือการให้ข่าวราชการเกี่ยวกับนโยบายและการปฏิบัติงานประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ให้รัฐมนตรีเป็นผู้ประชาสัมพันธ์ หรือให้ข่าวราชการ

ข้อ 6 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
3. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2550
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 2
การจัดตั้ง หมายความว่า การจัดตั้งสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
รวม หมายความว่า การนำนักเรียนในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใกล้กันตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปมาเรียนรวมกัน โดยจัดเป็นชั้นหรือช่วงชั้น เพื่อให้การบริหารและจัดการศึกษา มีประสิทธิภาพเกิดผลดีแก่ผู้เรียนทั้งในด้านสิทธิ โอกาส และคุณภาพการศึกษา
เลิก หมายความว่า การเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาพิเศษ หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษบางประการ ได้แก่
(1)    สถานศึกษาที่เน้นการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศเฉพาะด้าน
(2)    สถานศึกษาที่จัดการศึกษาในเชิงทดลอง วิจัยและพัฒนา
(3)    สถานศึกษาที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการและผู้ด้อยโอกาส
(4)    สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นสถานศึกษาตัวอย่างหรือต้นแบบสำหรับการจัดการศึกษา
(5)    สถานศึกษาในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ หรืออยู่ในพระบรมราชานุเคราะห์หรือจัดตั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสต่างๆ
ข้อ 3 ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ
ในการตีความ วินิจฉัย รวมทั้งออกประกาศ คำสั่ง ข้อกำหนด และจัดทำคำชี้แจงให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ 5 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจัดตั้งสถานศึกษาใหม่ แนวปฏิบัติในการจัดตั้ง
สถานศึกษา ให้ดำเนินการดังนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจักทำแผนการจัดตั้งสถานศึกษา และนำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษา โดย
(1)    สถานศึกษาที่จะจัดตั้งขึ้นในชุมชนใดต้องมีจำนวนนักเรียน ดังต่อไปนี้
(1.1)       ระดับประถมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนในแต่ละรายอายุไม่น้อยกว่า 25 คน มาเข้าเรียน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุรวมไม่ถึง 25 คน แต่มากกว่า 10 คน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
(1.2)       ระดับมัธยมศึกษา ต้องมีจำนวนนักเรียนที่เข้ามาเรียนชั้นละไม่น้อยกว่า 80 คน ถ้ามีนักเรียนในแต่ละรายอายุรวมไม่ถึง 80 คน แต่มากกว่า 40 คน ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
(2)    สถานที่ที่จะจัดตั้งสถานศึกษาต้องเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ ตามประเภทของที่ดินอย่างถูกต้อง  จำนวนไม่น้อยกว่า 25 ไร่
(3)    สถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้นใหม่จะต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกัน ที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่า 6   กิโลเมตร ตามเส้นทางคมนาคม
(4)    ให้บุคคล นิติบุคคล องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถานบันศาสนา สถานประกอบการ และ  สถาบันสังคมอื่น ยื่นคำร้องขอให้จัดตั้งสถานศึกษาต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(5)    ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณากลั่นกรองคำร้องตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  และนำเสนอคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือในกรณีที่ทางราชการเห็นว่ามีความจำเป็นต้องจัดตั้ง  สถานศึกษาเป็นกรณีพิเศษ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อ  พิจารณาอนุญาต
ข้อ 6 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุมัติการจัดตั้งสถานศึกษาตามคำร้องขอในข้อ (4)
เมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาอนุญาตแล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกาศ
จัดตั้งสถานศึกษา และให้จัดระบบส่งเสริม สนับสนุน ให้สถานศึกษาสามารถพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรับประกันคุณภาพภายนอก
ข้อ 7 ในท้องที่ที่เป็นชุมชนหนาแน่น หรือในท้องที่ที่มีความจำเป็นพิเศษ หากไม่สามารถดำเนินการ
จัดตั้งสถานศึกษาตามเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น ให้ขออนุมัติต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงงบประมาณ ประสิทธิภาพ และคุณภาพของการจัดการศึกษา
ข้อ 8 การจัดตั้งสถานศึกษาพิเศษให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ 9 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณารวมสถานศึกษาตั้งแต่สองแห่งขึ้นไป เพื่อให้
สถานศึกษามีการบริหารและจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ เกิดผลดีแก่ผู้เรียน ทั้งในด้านสิทธิ โอกาสและคุณภาพการศึกษา โดยจัดเป็นชั้นหรือช่วงชั้น
แนวปฏิบัติในการรวมสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังนี้
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตรวจสอบข้อมูล จัดทำแผนการรวมสถานศึกษา และนำเสนอ
คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา โดย
(1)    สถานศึกษาใดที่อยู่ใกล้เคียงกันมีความเห็นควรรวมสถานศึกษา ให้ดำเนินการ ดังนี้
(1.1)  จัดทำแผนการรวมสถานศึกษา
(1.2)  จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
(1.3)  เสนอแผนการรวมสถานศึกษาต้อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะ
       กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2)    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาใดมีความเห็นควรรวมสถานศึกษา ให้ดำเนินการดังนี้
(2.1) จัดทำแผนการรวมสถานศึกษา
(2.2) แจ้งสถานศึกษาที่จะรวมกัน
(2.3) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน
(2.4) เสนอแผนการรวมสถานศึกษา โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
          ข้อ 10 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาการให้ความเห็นชอบการรวมสถานศึกษา โดยให้มีผลก่อนวันเริ่มต้นปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า 180 วัน
          เมื่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประกาศรวมสถานศึกษา และให้จัดระบบติดตามช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
          ข้อ 11 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาเลิกสถานศึกษา เมื่อสถานศึกษานั้นมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
(1)    ไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอน
(2)    จำนวนนักเรียนลดลง จนไม่สามารถพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาได้
แนวปฏิบัติในการเลิกสถานศึกษา
(1)    ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน แล้วให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานำเสนอคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
(2)    ให้สถานศึกษา แจ้งผู้ปกครองนักเรียนและชุมชนทราบล่วงหน้า ไม่น้อยกว่า 1 ปี ก่อนวันเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษาถัดไป
............................................................................................................................................................................
4. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติของผู้กำกับห้องสอบ พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายจาตุรนต์  ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4 ผู้เข้าสอบต้องปฏิบัติดังนี้
          4.1 การแต่งกาย ถ้าเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาต้องแต่งกายเครื่องแบบนักเรียนหรือนักศึกษาแล้วแต่
กรณี ถ้าเป็นผู้สมัครสอบต้องแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยตามประเพณีนิยม
          4.2 ผู้เข้าสอบจะต้องถือหน้าที่ที่จะต้องตรวจสอบให้ทราบว่าสถานที่สอบอยู่ ณ ที่ใด ห้องใด
          4.3 ไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาเริ่มสอบตามสมควร ผู้ใดไปไม่ทันเวลาลงสอบวิชาใด ไม่มีสิทธิเข้าสอบ
วิชานั้น แต่สำหรับการสอบวิชาแรกในตอนเช้าของแต่ละวัน ผู้ใดเข้าห้องสอบหลังจากเวลาลงมือสอบแล้ว 15 
นาที จะไม่ได้รับอนุญาตให้สอบวิชานั้น เว้นแต่มีเหตุความจำเป็นให้อยู่ในดุลพินิจของประธานดำเนินการสอบ
พิจารณาอนุญาต
          4.4 ไม่เข้าห้องสอบก่อนได้รับอนุญาต
          4.5 ไม่นำเอกสาร เครื่องอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องสื่อสารใดๆ เข้าไปในห้องสอบ
4.6 นั่งตามที่กำหนด จะเปลี่ยนที่นั่งก่อนได้รับอนุญาตไม่ได้
4.7 ปฏิบัติตามระเบียบเกี่ยวกับการสอบและคำสั่งของผู้กำกับการสอบโดยไม่ทุจริตในการสอบ
4.8 มิให้ผู้เข้าสอบคนอื่นคัดลอกคำตอบของตน รวมทั้งไม่พูดคุยกับผู้ใดในเวลาสอบ เมื่อมีข้อสงสัยหรือมีเหตุความจำเป็นให้แจ้งต่อผู้กำกับการสอบ
4.9 ประพฤติตนเป็นสุภาพชน
4.10 ผู้ใดสอบเสร็จก่อน ผู้นั้นต้องออกไปห่างจากห้องสอบ และไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการรบกวนแก่ผู้ที่ยังสอบอยู่ แต่ครั้งนี้ผู้เข้าสอบทุกคนจะออกจากห้องสอบก่อนเวลา 20 นาที หลังจากเลิกสอบวิชานั้นไม่ได้
4.11 ไม่นำกระดาษสำหรับเขียนคำตอบที่ผู้กำกับการสอบแจกให้ออกไปจากห้องสอบ
ข้อ 5 ผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการฝ่าฝืนระเบียบข้อ 4 หรือพยายามกระทำการทุจริตในการสอบวิชาใด ให้ผู้กำกับการสอบว่ากล่าวตักเตือน
ถ้าการกระทำดังกล่าวในวรรคแรกเข้าลักษณะร้ายแรง เมื่อได้สอบสวนแล้วประธานกรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบมีอำนาจสั่งไม่ให้ผู้นั้นเข้าสอบวิชานั้นหรือสั่งไม่ตรวจคำตอบวิชานั้นของผู้นั้น โดยถือว่าสอบไม่ผ่านเฉพาะวิชาก็ได้
ข้อ 6 ผู้เข้าสอบผู้ใดกระทำการทุจริตในการสอบวิชาใด เมื่อได้สอบสวนแล้วให้ประธานกรรมการหรือผู้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการสอบ สั่งไม่ตรวจคำตอบและถือว่าผู้นั้นสอบไม่ผ่านวิชานั้นในการสอบคราวนั้น
ข้อ 7 ในกรณีทุจริตในการสอบด้วยวิธีคัดลอกคำตอบระหว่างผู้เข้าสอบด้วยกันให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เข้าสอบนั้นได้สมคบกันกระทำการทุจริต
ข้อ 8 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
5. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ                        
ข้อ 4
ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการอธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือสถานศึกษานั้น
กระทำความผิด หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา
การลงโทษ หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ 5 โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ดังนี้
(1)    ว่ากล่าวตักเตือน
(2)    ทำทัณฑ์บน
(3)    ตัดคะแนนความประพฤติ
(4)    ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อ 6 ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ
หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนและนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
          การลงโทษนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนและนักศึกษาให้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
          ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
          ข้อ 7 ว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
          ข้อ 8 การทำทัณฑ์บนใช้ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
          การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้
          ข้อ 9 การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
          ข้อ 10 ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
          การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
          ข้อ 11 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
.........................................................................................................................................................................................
6. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยกำหนดเวลาและวันหยุดราชการของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4               
สถานศึกษา หมายถึง สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาที่กฎหมายให้อำนาจในการกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสถานศึกษา
ข้าราชการ หมายถึง ข้าราชการที่ปฏิบัติราชการในสถานศึกษา
ข้อ 5 ให้สถานศึกษาเริ่มทำงานตั้งแต่เวลา 18.30 นาฬิกา ถึง 16.30 นาฬิกา หยุดกลางวันเวลา 12.00 นาฬิกา ถึง 13.00 นาฬิกา เป็นเวลาทำงานตามปกติ โดยมีวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ คือ วันเสาร์ และ วันอาทิตย์ หยุดราชการเต็มทั้งสองวัน
สถานศึกษาใดมีความจำเป็นต้องกำหนดเวลาเริ่มทำงานหรือวันหยุดราชการประจำสัปดาห์นอกจากที่กำหนดไว้ตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษาเป็นผู้กำหนดและรายงานส่วนราชการต้นสังกัดทราบ ทั้งนี้ ต้องมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่น้อยกว่า 35 ชั่วโมง
ข้อ 6 วันปิดภาคเรียนให้ถือว่า เป็นวันพักผ่อนของนักเรียน ซึ่งสถานศึกษาอาจอนุญาตให้ข้าราชการหยุดพักผ่อนด้วยก็ได้ แต่ถ้ามีราชการจำเป็นให้ข้าราชการมาปฏิบัติราชการเหมือนการมาปฏิบัติราชการตามปกติ
ข้อ 7 วันที่สถานศึกษาทำการสอนชดเชยหรือทดแทน เนื่องจากสถานศึกษาสั่งปิดด้วยเหตุพิเศษหรือกรณีพิเศษต่างๆ ให้ถือว่าเป็นวันทำงานปกติตามระเบียบนี้
ข้อ 8 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
7. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่อสถานศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและให้หมายความรวมถึงสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแลของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
ข้อ 5 การตั้งชื่อสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับต่ำกว่าปริญญาให้ใช้คำว่า โรงเรียนหรือ วิทยาลัยเป็นคำขึ้นต้นแล้วแต่กรณีและต่อด้วยชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน วัด ชื่อบุคคลผู้ได้รับการจารึกในประวัติศาสตร์หรือสถานที่อื่นใด
การใช้คำขึ้นต้นหรือตั้งชื่อสถานศึกษาตามวรรคหนึ่งเป็นอย่างอื่น ให้เป็นไปตามที่ส่วนราชการต้นสังกัดกำหนด
ข้อ 6 ให้สถานศึกษาที่ได้ตั้งชื่ออยู่แล้วในวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้ใช้ชื่อเดิมต่อไป เว้นแต่จะมีการตั้งชื่อใหม่ตามระเบียบนี้
ข้อ 7 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
8. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตั้งชื่ออาคาร ห้อง หรืออุปกรณ์ของสถานศึกษา พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549
ผู้ลงนามระเบียบคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาและสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ข้อ 5 การตั้งชื่ออาคารของสถานศึกษา ซึ่งมีผู้บริจาคให้สร้างอาคารทั้งหลัง โดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ในอาคาร ควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
ข้อ 6 การตั้งชื่อห้องซึ่งผู้บริจาคทรัพย์สร้างโดยทุนทรัพย์ผู้เดียว หากผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่ห้องควรให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
ข้อ 7 การที่มีผู้จัดซื้อให้ หรือบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์โดยทุนทรัพย์ผู้เดียวหากผู้จัดซื้อหรือผู้บริจาคนั้นประสงค์จะจารึกชื่อไว้ที่อุปกรณ์ให้เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริจาค
ถ้าผู้บริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์ร้อยละ 50 ของราคาอุปกรณ์ขึ้นไป ประสงค์จะจารึกชื่อและผู้ร่วมบริจาคทรัพย์เพื่อซื้ออุปกรณ์เห็นชอบด้วย ให้จารึกชื่อผู้บริจาคนั้นไว้ที่อุปกรณ์
ข้อ 8 เพื่อเป็นการยกย่องบุคคลผู้มีคุณความดีเกี่ยวกับสถานศึกษาหรือท้องถิ่น แม้ไม่ได้บริจาคทรัพย์ให้สร้างอาคาร หากสถานศึกษาเห็นสมควร และประชาชนสนับสนุนการจารึกชื่อผู้นั้นไว้ที่อาคาร ให้อยู่ในดุลยพินิจของส่วนราชการต้นสังกัดหรือส่วนราชการที่ต้นสังกัดมอบหมาย
ข้อ 9 การอนุมัติให้ตั้งชื่อตามระเบียบนี้ในข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ให้อยู่ในดุลพินิจของสถานศึกษา
ข้อ 10 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
9. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการแก้ วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและให้หมายความรวมถึงสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแล และหรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
ข้อ 5 การขอแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาให้ปฏิบัติดังนี้
(1)    ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่  ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตก ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงใน  หลักฐาน และการแก้ไข ตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดง โดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึก  สีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ทุกแห่ง
(2)    ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ ผู้ร้องจะต้องส่งคำร้อง    ตามแบบท้ายระเบียบนี้ และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย  วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
(ก)    สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด
(ข)    ถ้าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยราชการออกให้  เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน
(ค)    ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้น วัน เดือน ปีเกิดไม่ตรง  กัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายๆ ไป
(3)    เมื่อทางสถานศึกษาได้พิจารณาวินิจฉัยเอกสารตามข้อ 5 (2) (ก) หรือข้อ 5 (2) (ข) หรือได้ทำการสอบสวนตามข้อ 5 (2) (ค) แล้ว ถ้าปรากฏชัดแจ้งว่า วัน เดือน ปีเกิด ผิดพลาดไม่ตรงกับหลักฐานความเป็นจริงให้ทำรายงานส่งคำร้องขอแก้วัน เดือน ปีเกิด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น และสำเนาการสอบสอน (ถ้ามี) ไปตามระเบียบราชการเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแก้ไขเป็นรายๆ ไป
ข้อ 6 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาให้เป็นไปตามระเบียบนี้
...........................................................................................................................................................................
10. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการบริหารจัดการและขอบเขตการปฏิบัติหน้าที่ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2546
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายปองพล อดิเรกสาร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาตามประกาศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการ หมายความว่า คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคล
ข้อ 4 ให้สถานศึกษามีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่เพื่อจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ 5 ในกิจการทั่วไปของสถานศึกษาที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็นผู้แทนของนิติบุคคลสถานศึกษา
ข้อ 6 ให้สถานศึกษามีอำนาจปกครอง ดูแล บำรุง รักษา ใช้ และจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา เว้นแต่การจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ที่มีผู้อุทิศให้สถานศึกษา ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
เมื่อจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ตามวรรคที่หนึ่งแล้ว ให้สถานศึกษารายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบโดยเร็ว
ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อาจวางระเบียบเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศตามวรรคหนึ่งก็ได้
ข้อ 7 ในกรณีที่จะต้องมีการจดทะเบียนสิทธิ ขึ้นทะเบียนหรือดำเนินการทางทะเบียนใดๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการทางทะเบียนดังกล่าวได้ในนามนิติบุคคลสถานศึกษา
ข้อ 8 ในกรณีนิติบุคคลสถานศึกษาถูกฟ้องคดี ให้สถานศึกษารายงานให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบเพื่อดำเนินการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบดำเนินคดีโดยเร็ว
ข้อ 9 สถานศึกษาจะมีอิสระในการบริหารจัดการงบประมาณในส่วนของที่ตั้งไว้สำหรับสถานศึกษาตามที่ได้รับการกำหนดวงเงินและได้รับมอบอำนาจจากเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดทั้งนี้ ยกเว้นงบประมาณในหมวดเงินเดือน
ข้อ 10 สถานศึกษามีอิสระในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการพัสดุในส่วนที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบหรืออยู่ในวงเงินงบประมาณที่ได้มอบตามหลักเกณฑ์ที่ระบุในข้อ 9 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
ข้อ 11การรับบริจาคเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้แก่สถานศึกษา ให้สถานศึกษารับบริจาคตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ และตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ 12 การบริหารจัดการเกี่ยวกับการเงินและบัญชีของสถานศึกษาให้เป็นไปตามระเบียบที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานประกาศกำหนด
ข้อ 13 ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีแสดงรายการรับจ่ายเงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ตามข้อ 6 ไว้เป็นหลักฐานและให้สรุปรายการบัญชีทรัพย์สินดังกล่าวรายงานให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่สถานศึกษานั้นสังกัดทราบทุกสิ้นปีงบประมาณ
ข้อ 14 การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ข้อ 15 เมื่อมีการประกาศยุบ เลิก สถานศึกษา ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี รวมทั้งดำเนินการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
ข้อ 16 ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
11. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการพานักเรียน และนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
นักเรียนและนักศึกษา หมายความว่า บุคคลซึ่งกำลังรับการศึกษาในสถานศึกษา
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ และให้หมายความรวมถึงสถานศึกษาที่อยู่ในกำกับดูแล หรืออยู่ในความควบคุมของกระทรวงศึกษาธิการด้วย
หัวหน้าสถานศึกษา หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดีหรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นทั้งของรัฐและเอกชนที่มีอำนาจหรือหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษา หมายความว่า การที่ครู อาจารย์หรือหัวหน้าสถานศึกษาพานักเรียนและนักศึกษาไปทำกิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษาตั้งแต่สองคนขึ้นไป ซึ่งอาจไปเวลาเปิดทำการสอนหรือไม่ก็ได้ แต่ไม่รวมถึงการเดินทางไกลและการเข้าค่ายพักแรมของลูกเสือ ยุวกาชาด และเนตรนารี และการไปนอกสถานที่ตามคำสั่งในทางราชการ
ข้อ 5 การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาจำแนกเป็น 3 ประเภท คือ
(1)    การพาไปนอกสถานศึกษาไม่ค้างคืน
(2)    การพาไปนอกสถานศึกษาค้างคืน
(3)    การพาไปนอกราชอาณาจักร
ข้อ 6 การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาทุกประเภทให้ปฏิบัติดังนี้
(1)    ต้องได้รับอนุญาตก่อน โดยขออนุญาตตามแบบที่กำหนด
(2)    ให้หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้ควบคุม และจะต้องมีครูเป็นผู้ช่วย ผู้ควบคุมดูแลในการ  เดินทาง โดยครู 1 คนต่อนักเรียนหรือนักศึกษาไม่เกิน 30 คน
 ถ้านักเรียนและนักศึกษาเป็นหญิงไปด้วย ให้มีครูหญิงควบคุมไปด้วยตามความเหมาะสม
(3)    ผู้ควบคุมและผู้ช่วยผู้ควบคุม ต้องดำเนินการให้นักเรียนและนักศึกษาอยู่ในระเบียบวินัยเพื่อให้การเดินทาง  เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและปลอดภัย
(4)    ห้ามผู้ควบคุม ผู้ช่วยผู้ควบคุมเสพหรือชักชวนให้พนักงานขับรถหรือผู้ขับเรือ เสพสุราหรือของมึนเมาขณะ  เดินทาง
(5)    ให้หัวหน้าสถานศึกษาพิจารณาเลือกเส้นทางที่จะเดินทาง เลือกยานพาหนะที่อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรงใน  การเดินทาง รวมถึงให้พิจารณาเลือกพนักงานขับรถหรือผู้ขับเรือที่มีความรู้ความชำนาญด้วย
(6)    ในการเดินทางให้พิจารณาขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอคำแนะนำหรือขอความร่วม  มืออื่นๆ เท่าที่จำเป็น รวมถึงจัดให้มีป้ายข้อความแสดงให้เห็นว่ายานพาหนะนั้นบรรทุกนักเรียนแล  นักศึกษา
ข้อ 7 ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้พิจารณาและอนุญาตให้พานักเรียนและนักศึกษาไปนอก
สถานศึกษาตามข้อ 5 (1) ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายหรือผู้มีอำนาจเหนือสถานศึกษาขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งแล้วแต่กรณี เป็นผู้พิจารณาและอนุญาตตามข้อ 5 (2) และหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาและอนุญาตตามข้อ 5 (3)
ข้อ 8 ให้ส่งคำขออนุญาต พร้อมโครงการที่จะไปนอกสถานศึกษา ไปให้ผู้มีอำนาจพิจารณาก่อนวัน
ออกเดินทาง เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงออกเดินทางได้
ข้อ 9 การพานักเรียนและนักศึกษาไปนอกสถานศึกษาให้เป็นความสมัครใจเพื่อไปทำกิจกรรมการ
เรียนการสอน หรือทัศนศึกษา มิใช่พาไปเพื่อทดสอบสมรรถภาพหรือจัดกิจกรรมอื่นๆ เพื่อเป็นการวัดผลให้คะแนน
ข้อ 10 เมื่อพานักเรียนและนักศึกษากลับจากการพาไปนอกสถานศึกษาแล้วให้รายงานให้ผู้สั่งอนุญาต
ทราบ
ข้อ 11 ให้ถือว่าครู อาจารย์ หรือผู้ควบคุมนักเรียนและนักศึกษา ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการและให้
เบิกจ่ายในการเดินทางได้
ข้อ 12 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
12. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและอบรมภายในประเทศ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547
ประกาศใช้เมื่อเดือน กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
กรม หมายความว่า ส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และหมายความรวมถึงสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน สถาบันเทคโนโยลีราชมงคล และมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วย
อธิบดี หมายความว่า หัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกรมขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหมายความรวมถึงอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล และอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วย
ข้อ 4 ข้าราชการที่จะไปศึกษาต่อภาคปกติต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(ก)    มีอายุไม่เกิน 45 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่เริ่มต้นเปิดภาคเรียนการศึกษาที่จะเข้าศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาต  จากอธิบดีกรมเจ้าสังกัด ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงระยะเวลาการกลับเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ภายหลังสำเร็จการ  ศึกษา ซึ่งจะต้องอยู่ภายในระยะเวลาก่อนเกษียณอายุราชการ
(ข)    ปฏิบัติราชการด้วยดี มีความประพฤติเรียบร้อยและไม่อยู่ระหว่างถูกลงโทษทางวินัย เว้นแต่โทษภาคทัณฑ์
 ข้าราชการที่ถูกลงโทษตัดเงินเดือน จะไปศึกษาต่อได้เมื่อพ้นโทษตัดเงินเดือนแล้ว หรือถ้าเป็นผู้ถูกลงโทษ  ลงขั้นเงินเดือนจะไปศึกษาต่อได้เมื่อถูกลงโทษลดขั้นเงินเดือนมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน
 ข้าราชการที่อยู่ในระหว่างลาศึกษาต่อภายในประเทศภาคปกติ จะสมัครสอบ หรือสอบคัดเลือก เพื่อไป  ศึกษาหรือฝึกอบรมอื่นใดมิได้
(ค)    มีคุณสมบัติและพื้นฐานความรู้ตามระเบียบที่สถานศึกษานั้นๆ กำหนดไว้
(ง)     ต้องมีเวลารับราชการเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน ทั้งนี้นับถึงวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษาที่จะ  เข้าศึกษา
 ถ้ากรมเจ้าสังกัดมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ข้าราชการที่มีเวลารับราชการติดต่อกันน้อยกว่า 12   เดือน และเป็นผู้ที่พ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้วไปศึกษาต่อ ในสาขาวิชาที่มีความ  จำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนาการเรียนการสอนของกรมและสถานศึกษาในสังกัดเนื่องจากเป็นสาขาวิชาที่  ขาดแคลนให้กรมเจ้าสังกัดพิจารณาเป็นรายๆ ไป
(จ)    ข้าราชการที่เคยได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคปกติหรือศึกษาต่อต่างประเทศแล้วจะศึกษาต่ออีกต้อง  กลับไปปฏิบัติราชการเป็นเวลาไม่น้อยกว่าตามที่กำหนดไว้ในข้อ (ง) แต่ถ้ากรมเจ้าสังกัดมีความจำเป็น  อย่างยิ่ง ที่จะต้องให้ข้าราชการซึ่งกลับมาปฏิบัติราชการไม่ครบตามกำหนดไปศึกษาต่ออีกให้กรมเจ้าสังกัด  พิจารณาอนุญาตเป็นรายๆ ไป
ข้อ 5 ข้าราชการที่จะไปศึกษาต่อประเภท ข. ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่อธิบดี
มอบหมายให้ไปสมัครสอบคัดเลือก หรือคัดเลือก และต้องไปสมัครสอบคัดเลือกหรือคัดเลือก ณ สถานศึกษาและในสาขาวิชาที่กรมเจ้าสังกัดกำหนด เมื่อสถานศึกษานั้นประกาศผลการสอบคัดเลือกหรือคัดเลือกแล้ว การจะให้ไปศึกษานั้น ให้อยู่ในดุลยพินิจของอธิบดีกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายอีกชั้นหนึ่ง โดยคำนึงถึงระดับการศึกษา สาขาวิชาที่สอดคล้องหรือเป็นประโยชน์กับงาน หรือมาตรฐานกำหนดตำแหน่งที่ดำรงอยู่ตามที่ ก.พ. ก.ค. หรือ ก.ค.ศ. กำหนดเว้นแต่ข้าราชการต้องการไปศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองและผู้บังคับบัญชาเห็นชอบด้วย และจำนวนรวมที่กรมไดรับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาธิการ
          ข้อ 6 ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ ต้องศึกษาให้สำเร็จตาเวลากำหนดในหลักสูตร ถ้าไม่สามารถศึกษาให้สำเร็จได้ทันตามกำหนด และมีความประสงค์จะขยายเวลาศึกษาต่ออีก ให้ยื่นคำร้องต่อกรมเจ้าสังกัดก่อนวันสิ้นสุดของสัญญาไม่น้อยกว่า 15 วัน พร้อมด้วยความเห็นของสถานศึกษา และระเบียบการลงทะเบียนของสถานศึกษานั้น ประกอบการพิจารณาอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ให้ทำสัญญาเพิ่มเติมโดยอนุโลม ตามข้อ 9 วรรคหนึ่ง หากพิจารณาแล้วปรากฏว่าข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อได้ใช้เวลาไปเพื่อการอื่นหรือศึกษาวิชาอื่นนอกเหนือจากที่ทางราชการอนุญาตไว้หรือมีเจตนาเกี่ยวกับการลงทะเบียนวิชาเรียน จนเป็นเหตุให้ศึกษาสำเร็จช้ากว่ากำหนดเวลาเรียนตามหลักสูตร หรือไม่เอาใจใส่ต่อการศึกษา หรือมีความประพฤติไม่เหมาะสมให้กรมเจ้าสังกัดดำเนินการทางวินัยตามควรแก่กรณี
          หากศึกษาไม่สำเร็จภายในระยะเวลาตาม วรรคหนึ่ง อธิบดีกรมเจ้าสังกัด หรือผู้ที่อธิบดีมอบหมาย อาจพิจารณาขยายเวลาการศึกษาได้ตามเหตุผลและความจำเป็นเฉพาะกรณี ครั้งละ 1 ภาคการศึกษารวมแล้วไม่เกิน 2 ครั้ง หรือไมเกิน 1 ปีการศึกษา
          ถ้าข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อมีผลการศึกษาประจำภาคเรียนปรากฏว่าแม้จะศึกษาอยู่ต่อไปก็ไม่สามารถศึกษาให้จบตามหลักสูตรได้ ให้กรมเจ้าสังกัดเรียกตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามเดิมต่อไป
          ข้อ 7 ให้เพิ่ม วรรคสามของข้อ 14 ว่า สำหรับผู้ที่สำเร็จการศึกษาในชั้นที่สูงกว่าปริญญาตรี จะต้องมอบวิทยานิพนธ์หรือผลงานวิจัยให้ส่วนราชการด้วย
          ข้อ 8 ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หรือสอบตกต้องออกจากสถานศึกษาหรือต้องหยุด การศึกษาก่อนสำเร็จด้วยประการใดๆ ก็ตาม ต้องกลับมาปฏิบัติราชการตามแผนงานหรือโครงการที่ทางราชารที่ทางราชการกำหนดต่อไปในสถานศึกษาหรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ก่อนเข้ารับราชการศึกษาหรือในกระทรวง ทบวง กรม ตามที่ทางราชการเห็นสมควร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษา
          ถ้าข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อรายใด ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กล่าวในวรรคหนึ่ง รวมทั้งผู้ที่ทางราชการเห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะให้รับราชการต่อไป จะต้องชดใช้คืนเงินทุนและหรือเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่ม และหรือเงินอื่นใดทั้งสิ้นที่ได้รับไปในระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อ และเบี้ยปรับอีกเท่าของเงินที่ต้องชดใช้คืนแก่ส่วนราชการเจ้าสังกัดทันที เว้นแต่ ไม่สามารถกลับเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ หรือปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบกำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง เพราะถึงแก่ความตายหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ก็ให้ระงับไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินและเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวคืนแก่ส่วนราชการเจ้าสังกัด
          ข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(ก)    ผู้ใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษา
(1)    มีอายุไม่เกิน 55 ปีบูรณ์ นับถึงวันเริ่มต้นเปิดภาคการศึกษาที่จะเข้าศึกษา แต่ถ้ากรมเจ้าสังกัดเห็น  สมควรหรือมีความจำเป็นจะให้ผู้มีอายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์ไปศึกษาก็ให้อยู่ในดุลพินิจของกรมเจ้า  สังกัดพิจารณาอนุญาตเป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
(2)    เป็นผู้ที่พ้นกำหนดเวลาทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการแล้ว
(ข)    ผู้ที่ไม่ต้องใช้เวลาราชการไปศึกษา ไม่อยู่ในเงื่อนไขตาม (ก)
ข้อ 9 หลักเกณฑ์ในการพิจารณาอนุญาตให้ผู้ที่ต้องใช้เวลาราชการบางส่วนไปศึกษาต่อ มีดังนี้
(ก)    เป็นผู้ที่หัวหน้าสถานศึกษาหรือหัวหน้าสำนักงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่แล้วแต่กรณีรับรองว่าหากไปศึกษาต่อ  แล้วจะไม่ให้เกิดความเสียหายต่อราชการ หรือการศึกษาของนักเรียน
(ข)    เป็นผู้เอาใจใส่ในการปฏิบัติราชการเป็นอย่างดี และให้ออกเดินทางจากสถานศึกษาหรือสำนักที่ตนปฏิบัติ  งานอยู่ก่อนเวลาเลิกปฏิบัติราชการได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที เว้นแต่กรมใดที่กำหนดเวลาทำงาน  เป็นอย่างอื่น นอกจากวันทำงานตามปกติ หรือมีความจำเป็นต้องออกเดินทางเกินกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที    แต่ไม่เกิน 7 ชั่วโมง 30 นาที ต้อสัปดาห์ ให้เสนออธิบดีกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายพิจารณา  อนุญาตเป็นรายๆ ไป
(ค)    จำนวนข้าราชการที่จะได้รับอนุญาตให้ไปศึกษาต่อภาคนอกเวลา รวมกันทั้งสิ้นจะต้องไม่เกิน ร้อยละ 20  ของจำนวนข้าราชการทั้งหมดในสถานศึกษา หรือสำนักงานนั้นๆ แต่ถ้าในสถานศึกษาหรือสำนักงานใด มี  ข้าราชการทั้งหมดต่ำกว่า 10 คน ให้อยู่ในดุลพินิจของกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่กรมมอบหมาย
(ง)     วิชาที่จะไปศึกษาต่อนั้น เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่
(จ)    ถ้าสถานศึกษาหรือสำนักงานใด มีผู้สอบเข้าศึกษาต่อได้เกินกว่าจำนวนที่จะอนุญาตได้ให้พิจารณาผู้ที่มีอายุ  ราชการมากกว่าก่อน
(ก)    เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วต้องกลับมารับราชการตามแผนงาน หรือโครงการที่ทางราชการกำหนดต่อไปใน  สถานศึกษาหรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติอยู่ก่อนเข้ารับการศึกษา หรือในกระทรวงราชการกำหนดต่อไปใน  สถานศึกษาหรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติอยู่ก่อนเข้ารับราชการ หรือในกระทรวง ทบวง กรม ตามที่ทางรา  การเห็นสมควร เป็นเวลาติดต่อกัน 12 เดือน
(ข)    ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อ (ก) จะต้องชดใช้เงินในอัตราร้อยละ 10 ของเงินเดือนที่ไดรับไปในระหว่างที่ได้รับ  อนุญาตให้ไปศึกษาต่อรวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของเงินที่จะต้องชดใช้คืนแก่กรมเจ้าสังกัดทันที เว้นแต่ไม่  สามารถกลับเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ หรือปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบกำหนดเวลาตามข้อ (ก) เพราะถึงแก่  ความตายหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากเจ็บป่วยทุพพลภาพตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่น  เฟือนไม่สมประกอบ ก็ให้ระงับไม่ต้องรับผิดชอบชดใช้เงินและเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวคืนแก่กรมเจ้าสังกัด
(ค)    ต้องทำตามสัญญาตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งในส่วนกลางและส่วน  ภูมิภาคทำสัญญากับกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่กรมมอบหมาย สัญญาศึกษาต่อภาคฤดูร้อนดังกล่าว ให้เก็บ  รวบรวมไว้ที่กรมหรือหน่วยงานที่กรมมอบหมาย
ข้อ 11 ข้อผูกพันของข้าราชการที่ได้รับอนุญาตให้ไปฝึกอบรมที่มีหลักสูตรเกินกว่า 6 เดือน หรือทาง
ราชการจะต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเกินกว่า 20,000 บาท ต่อคน มีดังนี้
(ก)    เมื่อกลับจากการฝึกอบรมแล้ว ต้องกลับมารับราชการตามแผนงานหรือโครงการที่ทางราชการกำหนดต่อ  ไปในสถานศึกษา หรือสำนักงานที่ตนปฏิบัติงานอยู่ก่อนเข้ารับการฝึกอบรมหรือในกระทรวง ทบวง กรม  ตามที่ทางราชการเห็นสมควรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของระยะเวลาที่ไปฝึกอบรม
(ข)    ถ้าไม่ปฏิบัติตามข้อ (ก) จะต้องชดใช้เงินเดือนทั้งหมดและเงินค่าใช้จ่ายที่ได้รับในระหว่างที่ไปฝึกอบรม  รวมทั้งเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าคืนกรมเจ้าสังกัดทันที เว้นแต่ไม่สามารถกลับเข้าปฏิบัติราชการชดใช้ หรือ  ปฏิบัติราชการชดใช้ไม่ครบกำหนดเวลาตามข้อ (ก) เพราะถึงแก่ความตายหรือถูกสั่งให้ออกจากราชการ  เนื่องจากเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบก็ให้ระงับไม่ต้อง  รับผิดชอบชดใช้เงินและเบี้ยปรับจำนวนดังกล่าวคืนแก่กรมเจ้าสังกัด
(ค)    ต้องทำสัญญาตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่ราชการทั้งในส่วนกลางและส่วน  ภูมิภาคทำสัญญากับกรมเจ้าสังกัดหรือผู้ที่กรมมอบหมาย สัญญาการฝึกอบรมดังกล่าว ให้เก็บรวบรวมไว้ที่  กรมหรือหน่วยงานที่กรมมอบหมาย
ข้อ 12 การดำเนินการใดๆ กับข้าราชการซึ่งได้รับอนุมัติศึกษาต่อภาคปกติ ภาคนอกเวลาหรือภาคฤดู
ร้อนเพิ่มเติมภายในประเทศก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการไปศึกษาต่อและฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ. 2538
.........................................................................................................................................................................................
13. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
กิจกรรมสหกรณ์ หมายความว่า การจัดกิจกรรมตามหลักการสหกรณ์
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ยกเว้นสถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาที่เป็นนิติบุคคลในสายบังคับบัญชาของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ข้อ 5 ให้สถานศึกษาส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมสหกรณ์ในสถานศึกษา โดยมีนักเรียน นักศึกษา ครู และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาเป็นสมาชิก
ข้อ 6 ให้สถานศึกษาจัดทำบัญชีตามวิธีการของสหกรณ์ รวมถึงออกข้อบังคับกิจกรรมสหกรณ์ของสถานศึกษานั้นๆ โดยความควบคุมของสถานศึกษา
ข้อ 7 สถานศึกษาใดเริ่มและเลิกจัดกิจกรรมสหกรณ์เมื่อใดให้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปชั้นหนึ่งทราบ รวมทั้งรายงายผลการดำเนินงานสถานะทางการเงินและงบดุลหลังการประชุมใหญ่ประจำปี
ข้อ 8 สถานศึกษาใดซึ่งได้จัดกิจกรรมสหกรณ์อยู่ก่อนระเบียบนี้ใช้บังคัล ให้ถือว่าการดำเนินการกิจกรรมสหกรณ์ของสถานศึกษานั้นมีผลสมบูรณ์ตามระเบียบนี้
ข้อ 9 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
14. หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
ตอบ     หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ พ.ศ.2550
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2551
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
          ข้อ 3 ที่พักของแต่ละส่วนราชการจะกำหนดให้เป็นที่พักสำหรับข้าราชการระดับใด ให้พิจารณาตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งความประหยัดและประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญและสามารถปรับเปลี่ยนได้ ส่วนการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ ให้หัวหน้าส่วนราชการเจ้าของงบประมาณหรือผู้ที่หัวหน้าส่วนราชการมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจจัดที่พัก และสามารถกำหนดวิธีปฏิบัติในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
          ข้อ 4 ข้าราชการที่เคยสละสิทธิ์การเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการ หรือเป็นผู้ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช้าบ้านข้าราชการ ตามมาตรา5 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านราชการ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2541 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2541 หากต่อมาข้าราชการดังกล่าวร้องขอเข้าพักขณะที่ที่พักของทางราชการว่างลง หรือได้ที่พักมาใหม่ เนื่องจากมีความเดือดร้อนในเรื่องที่อยู่อาศัย ผู้มีอำนวจจัดที่พักอาจพิจารณาจัดให้ข้าราชการดังกล่าวเข้าพักของทางราชการได้
          ข้อ 5 ข้าราชการที่ไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเนื่องจากผู้มีอำนาจจัดที่พักได้จัดที่พักให้แล้ว แต่สละสิทธิการเข้าพักอาศัยในที่พักของราชการ หากต่อมาที่พักของทางราชการนั้นได้ถูกรื้อถอนไปทั้งหมดให้ถือว่าข้าราชการผู้นั้นไม่มีที่พักของทางราชการจัดให้ จึงไม่ต้องห้ามในการได้รับสิทธิค่าเช่าบ้านตามมาตรา 7(1) แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช้าบ้านข้าราชการ พ.ศ.2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกต้อไปนับตั้งแต่วันที่ที่พักของทางราชการได้ถูกรื้อถอนไปทั้งหมด
          ข้อ 6 กรณีที่พักของราชการว่างลง แต่มีสภาพชำรุด ทรุดโทรม มีลักษณะไม่ปลอดภัยต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้เข้าอยู่อาศัย หรือมีเหตุสุดวิสัย เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม หรือมีเหตุอื่นใดอันเป็นเหตุให้ไม่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ ผู้มีอำนาจจัดที่พักไม่ต้องจัดให้ข้าราชการเข้าพักจนกว่าจะซ่อมแซมที่พักแล้วเสร็จหรือเหตุสุดวิสัยนั้นได้รับการแก้ไขหรือบรรเทาจนสามารถเข้าอยู่อาศัยได้ และให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักจัดให้ข้าราชการเข้าพักอาศัยต่อไป
          ข้อ 7 ให้ผู้มีอำนาจจัดที่พักให้มีทะเบียนควบคุมการจัดข้าราชการเข้าและออกในที่พักของทางราชการตามแบบที่หน่วยงานกำหนดทุกครั้ง และให้มีการมอบทะเบียนควบคุมดังกล่าวให้แก่ผู้มีอำนาจจัดที่พักคนต่อไปทุกครั้งที่พ้นตำแหน่งหน้าที่
ข้อ 8 ในกรณีข้าราชการได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการในลักษณธประจำต่างสำนักเบิกเงินเดือนหรือต่างสำนักงานในท้องที่เดียวัน ให้หัวหน้าส่วนราชการประจำสำนักงานที่ข้าราชการผู้นั้นปฏิบัติราชการอยู่เป็นผู้มีอำนาจจัดข้าราชการดังกล่าวเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัตินี้
ข้อ 9 กรณีที่หน่วยงานใดได้จัดให้ข้าราชการผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเข้าอยู่อาศัยในที่พักของทางราชการก่อนวันประกาศใช้หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัตินี้ ให้ข้าราชการผู้นั้นมีสิทธิอยู่อาศัยในที่พักของทางราชการ จนกว่าจะมีการย้านหรือพ้นจากตำแหน่งหน้าที่ในหน่วยงานนั้น
ข้อ 10 ในการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการครั้งแรกตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัตินี้ หากหัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเห็นว่ามีความจำเป็นและไม่เสียหายแก่ทางราชการ อาจใช้ดุลพินิจจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการเสียใหม่ โดยข้าราชการซึ่งเดิมถูกจัดเข้าพักในที่พักของทางราชการไม่ว่าจะเข้าพักอาศัยหรือสละสิทธิการเข้าพักอาศัยก็ตาม หากข้าราชการดังกล่าวไม่ถูกจัดเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการในครั้งใหม่ก็จะถือว่าทางราชการไม่ได้จัดที่พักอาศัยให้อีกต่อไป ทั้งนี้ นับตั้งแต่วันที่ได้มีการจัดข้าราชการเข้าพักอาศัยในที่พักของทางราชการในครั้งใหม่
............................................................................................................................................................................
15. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการขยายชั้นเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2550
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
          ข้อ 3
          การขยายชั้นเรียน หมายความว่า การขยายชั้นเรียนในระดับที่สูงขึ้น ได้แก่
(1)    การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
(2)    การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(3)    การเพิ่มขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
          สถานศึกษาขั้นพื้นฐานหมายความว่า สถานศึกษาที่จัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะจัดการศึกษา ระดับมัธยมศึกษา
          พื้นที่พิเศษ หมายความว่า พื้นที่ที่มีลักษณะพิเศษ ได้แก่
(1)    พื้นที่กันดาร ห่างไกล การคมนาคมไม่สะดวก ขาดสาธารณูปโภค ปัจจัยพื้นฐาน
(2)    พื้นที่เสี่ยงภัย เช่น ตะเข็บชายแดน ชายขอบ พื้นที่ยังคงมีโรคติดต่อชุกชุม เป็นต้น
(3)    พื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น พื้นที่สูงที่ไม่มีถนนติดต่อกับภายนอก บนเกาะ เป็นต้น
(4)    พื้นที่พิเศษตามประกาศของกระทรวงการคลัง สำนักงานในพื้นที่พิเศษ
คุณภาพการศึกษา หมายความว่า การจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ได้คุณภาพตามมาตรฐาน
การศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ 4 ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้รักษาการตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจในการตีความ วินิจฉัย ปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ 6 การขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาตามความเหมาะสม
ข้อ 7 การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาจากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
(1)    สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(2)    สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอน
(3)    สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ไม่น้อยกว่า 40 คน
(4)    สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการ  เรียนการสอนอย่างมีปะสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(5)    สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอด  หลักสูตร
ข้อ 8 การขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาพิจารณา
จากองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้
(1)    สถานศึกษาต้องผ่านการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ใน  ระดับดี
(2)    สถานศึกษาต้องมีอาคาร สถานที่เหมาะสม เพียงพอ และเอื้อต่อการจัดการเรียนการสอนทั้งนี้ให้มี  ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด พื้นที่สีเขียว และสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอและอยู่ในสภาพใช้  การได้ดี มีการจัดและใช้แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษา
(3)    สถานศึกษาต้องมีจำนวนนักเรียนที่จะเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 ไม่น้อยกว่า 40 คน
(4)    เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลายต่ำ ในกรณีที่เป็นพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการ  เขตพื้นที่การศึกษาพิจารณาถึงเหตุผลและความจำเป็นในการขอขยายชั้นเรียน
(5)    สถานศึกษาต้องมีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ไม่น้อยกว่า 5 ห้องเรียน
(6)    สถานศึกษาต้องมีครูที่มีคุณวุฒิ ความรู้ ความสามารถตรงกับงานที่รับผิดชอบมีความสามารถในการจัดการ  เรียนการสอนอย่างมีปะสิทธิภาพ และมีครูเพียงพอในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก
(7)    สถานศึกษาต้องมีครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีศักยภาพ พร้อมที่จะรองรับการจัดการศึกษาตลอด  หลักสูตร
ข้อ 9 การขอขยายชั้นเรียน ให้สถานศึกษาปฏิบัติ ดังนี้
(1)    จัดทำแผนขยายชั้นเรียนเสนอต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นชอบ
(2)    เสนอเรื่องการขยายชั้นเรียนพร้อมเอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อน  เปิดภาคเรียนที่หนึ่งของปีการศึกษา ไม่น้อยกว่า 180 วัน
ข้อ 10 การพิจารณาชั้นเรียน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปฏิบัติ ดังนี้
(1)    ตรวจสอบข้อมูลเอกสารและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินความ  พร้อมในการขยายชั้นเรียน
(2)    เสนอข้อมูลและความเห็นต่อคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาเพื่อพิจารณาตามที่กำหนดไว้ในหมวด 1  และหมวด 2 ประกอบการพิจารณาอนุญาต
(3)    การดำเนินการตาม (1) และ (2) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน นับ  ตั้งแต่วันที่ได้รับคำขอ
(4)    แจ้งผลการพิจารณาของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาให้สถานศึกษาที่เกี่ยวข้องทราบกรณีอนุญาต ให้  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำประกาศการขยายชั้นเรียน และให้จัดระบบส่งเสริม สนับสนุนให้สถาน  ศึกษา สามารถพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในให้มีประสิทธิภาพพร้อมรับการประเมินคุณภาพ  ภายนอก
ข้อ 11 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษารายงานการขยายชั้นเรียนให้เลขาธิการคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทราบและให้การสนับสนุน
ข้อ 12 การขยายชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาในพื้นที่พิเศษให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา
พิจารณาตามความเหมาะสม
          ข้อ 13 การขยายชั้นเรียนสำหรับสถานศึกษาที่ไม่มีความพร้อมตามหมวด 1 แต่มีความจำเป็นต้องขยายชั้นเรียน ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเตรียมความพร้อมให้กับสถานศึกษาและขอความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมเหตุผลความจำเป็นและแนวทางพัฒนาให้กับสถานศึกษา
          ข้อ 14 ในกรณีนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนำเสนอจอความเห็นชอบคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งการ
.........................................................................................................................................................................................
16. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. 2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
พนักงานเจ้าหน้าที่ หมายความว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามหมวด 7 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
ข้อ 4 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจดำเนินการเพื่อส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาดังต่อไปนี้
(1)    สอบถามครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษา เกี่ยวกับความประพฤติ การศึกษา นิสัยและสติปัญญาของ  นักเรียนหรือนักศึกษาที่ฝ่าฝืนกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบ  ของโรงเรียนหรือสถานศึกษา
(2)    เรียกให้ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ หรือหัวหน้าสถานศึกษาที่นักเรียนหรือนักศึกษานั้นกำลังศึกษาอยู่มารับตัว  นักเรียนหรือรักศึกษา เพื่อว่ากล่าว อบรม สั่งสอน ต่อไป
(3)    ให้คำแนะนำแก่ผู้ปกครองในเรื่องการอบรมและสั่งสอนนักเรียนหรือนักศึกษา
(4)    เรียกผู้ปกครองมาว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บนว่าจะปกครองดูแลมิให้นักเรียนหรือนักศึกษาฝ่าฝืนกฎ  กระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาอีก
(5)    สอดส่อง ดูแล รวมทั้งรายงานต่อคณะกรรมการคุ้มครองเด็กแห่งชาติเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคล หรือ  แหล่งที่ชักจูงนักเรียนและนักศึกษาให้ประพฤติในทางมิชอบ
(6)    ประสานงานกับผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา ครู ผู้ปกครอง  ตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น
ข้อ 5 เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่พบเห็นนักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติตนไม่เหมาะสมตามกฎกระทรวง
ว่าด้วยความประพฤติของนักเรียนและนักศึกษา หรือระเบียบของโรงเรียนหรือสถานศึกษาให้ปฏิบัติดังนี้
(1)    แสดงบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่
(2)    บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับนักเรียนหรือนักศึกษา และพฤติการณ์การกระทำ ณ สถานที่ที่พบการกระทำ  นั้น
(3)    ซักถามข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของนักเรียนหรือนักศึกษา โดยไม่บังคับข่มขู่ กลั่นแกล้งหรือ  ทำให้เกิดความหวาดกลัว รวมทั้ง ให้อบรมสั่งสอนอย่างสุภาพ และช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยคำนึงถึงอายุ  และสภาพจิตใจของนักเรียนหรือนักศึกษา
(4)    นำตัวไปส่งมอบแก่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษาของนักเรียนและนักศึกษานั้น เพื่อดำเนินการสอบถาม  และอบรมสั่งสอนหรือลงโทษตามระเบียบ ในกรณีที่ไม่สามารถนำตัวไปมอบได้จะแจ้งด้วยวาจาหรือเป็น  หนังสือก็ได้
ข้อ 6 ในกรณีพนักงานเจ้าหน้าที่พบนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีพฤติการณ์เข้าข่ายกระทำผิดทางอาญา
และอาจก่อให้เกิดภยันตรายอย่างร้ายแรง หรือก่อเหตุทะเลาะวิวาทจนไม่อาจควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ ให้แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อระงับเหตุ รวมทั้งให้ประสานงานกับโรงเรียนหรือสถานศึกษา และส่วนราชการต้นสังกัดโดยเร็ว
ข้อ 7 ในกรณีที่มีนักเรียนหรือนักศึกษาถูกกล่าวว่ากระทำผิดทางอาญาและถูกจับกุมควบคุมตัว ให้
พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานให้สถานศึกษาและผู้ปกครอง เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือเบื้องต้นโดยเร็ว
ข้อ 8 ส่วนราชการของกระทรวงศึกษาธิการ อาจจัดให้มีศูนย์การประสานงานส่งเสริมความประพฤติ
นักเรียนและนักศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา หรือในเขตพื้นที่จังหวัด แล้วแต่กรณีเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ และประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
ข้อ 9 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการรักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและ
วินิจฉัยปัญญาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
.........................................................................................................................................................................................
17. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยเครื่องแบบนักเรียน พ.ศ.2551
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2551
ผู้ลงนามระเบียบคือ ศรีเมือง เจริญศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่นักเรียนผู้ซึ่งศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต่ำกว่าปริญญาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ เว้นแต่สถานศึกษานั้นจะมีกฎหมายกำหนดเรื่องการแต่งกายไว้เป็นการเฉพาะแล้ว
ข้อ 5 ลักษณะของเครื่องแบบนักเรียนแบ่งตามระดับและประเภทการศึกษา ดังนี้
(1)    เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
(2)    เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
(3)    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
(4)    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
(5)    เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพ และระดับอุดมศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญา
(6)    เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
(7)    เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ข้อ 6 เครื่องแบบนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต หรือคอปกกลม แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีแดง ขาสั้น
(4)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
(5)    ถุงเท้า สั้น สีขาว
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต หรือคอปกกลม แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กระโปรง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีแดง แบบจีบรูดรอบตัว หรือยาวเพียงใต้เข่า แบบจีบทบรอบเอว  หรือพับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(4)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า ชนิดผูกหรือมีสายรัดหลังเท้า
(5)    ถุงเท้า สั้น สีขาว
ข้อ 7 เครื่องแบบนักเรียนระดับประถมศึกษา
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต เชิ้ตโปโล หรือคอปกกลม แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(4)    เข็มขัดหนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้  เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(6)    ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต คอบัว หรือคอปกกลาสีผูกด้วยผ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี สีดำหรือสี  กลมท่า แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบจีบรูดรอบตัว หรือจีบทบรอบเอว หรือพับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้ง  ด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(4)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(5)    ถุงเท้า สั้น สีขาว
ข้อ 8 เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดย
 สถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(1)    กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(2)    เข็มขัดหนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด นักเรียนที่เป็นลูกเสือจะใช้  เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้
(3)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(4)    ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอปกกลาสีผูกด้วยผ้าผูกคอชายสามเหลี่ยมเงื่อนกลาสี สีดำหรือสีกลมท่า แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวม  แล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(4)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(5)    ถุงเท้า สั้น สีขาว
ข้อ 9 เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทสามัญศึกษา
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดย
 สถานศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กางเกง ผ้าสีดำ สีน้ำเงิน สีกรมท่าหรือสีกากี แบบสุภาพ ขาสั้น
(4)    เข็มขัดหนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัว
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(6)    ถุงเท้า สั้น สีขาวหรือสีน้ำตาล
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช่ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวา บนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหม โดยสถาน  ศึกษารัฐใช้สีน้ำเงิน สถานศึกษาเอกชนใช้สีแดง
(3)    กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ พับเป็นจีบข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวม  แล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(4)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีสายรัดหลังเท้า
(5)    ถุงเท้า สั้น สีขาว
ข้อ 10 เครื่องแบบนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีพ ระดับต่ำกว่าปริญญา
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ตผูกเนคไท แขนสั้นหรือแขนยาว
(2)    เครื่องหมาย ติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกซ้ายเบื้องขวา
(3)    กางเกง ผ้าสีดำ หรือสีกรมท่า แบบสุภาพ ขายาว
(4)    เข็มขัดหนัง สีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำ แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(6)    ถุงเท้า สั้น สีดำ
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้นหรือแขนยาว
(2)    เครื่องหมาย ติดเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาที่อกเสื้อเบื้องขวา
(3)    กระโปรง ผ้าสีดำหรือสีกรมท่า แบบสุภาพ เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมเข่า
(4)    เข็มขัด หนังสีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะตราของสถานศึกษา
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า มีส้นสูง ไม่เกิน 2 นิ้ว
ข้อ 11 เครื่องแบบนักเรียนสำหรับสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้นหรือแขนยาว
(2)    เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาบนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหมสีแดง
(3)    หมวก ใช้หมวกสีขาว (กะปิเยาะห์) หรือหมวกสีดำ (ซอเกาะห์) ในโอกาสอันสมควร
(4)    กางเกง ผ้าสีดำ หรือสีกรมท่า แบบสุภาพ ขายาว
(5)    เข็มขัดหนัง สีดำ หัวเข็มขัดเป็นโลหะหัวกลัดหรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
(6)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำ แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(7)    ถุงเท้า สั้น สีดำ
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ กุรงสีพื้น ไม่มีลวดลาย แบบคอกลมไม่มีปก
(2)    เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อของสถานศึกษาปักที่อกเสื้อเบื้องขวาบนเนื้อผ้าด้วยด้ายหรือไหมสีแดง
(3)    ผ้าคลุมศีรษะ ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย ลักษณะเย็บเป็นถุง หรือตัดเย็บในลักษณะอื่นซึ่งต้องคลุมศีรษะทั้งหมด  เว้นใบหน้า ชายผ้าคลุมศีรษะคลุมไหล่
(4)    กระโปรง หรือโสร่ง
 กระโปรง ผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย แบบทรงปลายบาน ไม่มีจีบหรือมีจีบหรือเกล็ดความยาว เมื่อสวมแล้วชาย  กระโปรงคลุมข้อเท้า
 โสร่ง มีลักษณะเช่นเดียวกับผ้าถุงหรือผ้าโสร่งทั่วไป เป็นผ้าสีพื้นไม่มีลวดลาย ขนาดกว้างพอเหมาะ ไม่ผ่า  ข้างหรือรัดรูป เมื่อสวมแล้วชายผ้าโสร่งคลุมข้อเท้า
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ แบบหุ้มส้นหุ้มปลายเท้า
(6)    ถุงเท้าสั้น สีขาว
ข้อ 12 เครื่องแบบนักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลาในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอน
ศาสนาอิสลาม
นักเรียนชาย
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาว แบบคอเชิ้ต แขนสั้น
(2)    เครื่องหมาย ใช้ชื่ออักษรย่อสัญลักษณ์หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษาตามที่สถานศึกษากำหนด ปัก  หรือติดที่อกเสื้อเบื้องขวา
(3)    กางเกง ใช้ผ้าสีเดียวกันกับผ้าของกางเกงนักเรียนทั่วไปที่ใช้ในสถานศึกษานั้นขายาวระดับตาตุ่ม ปลาย  ขาพับเข้าด้านใน
(4)    เข็มขัดหนัง สีดำหรือสีน้ำตาล หัวเข็มขัดเป็นโลหะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าชนิดหัวกลัด สำหรับผู้ที่เป็นลูกเสือจะ  ใช้เข็มขัดลูกเสือแทนก็ได้ หรือหัวเข็มขัดเป็นตราของสถานศึกษา
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบ สีดำหรือสีน้ำตาล แบบหุ้มส้นชนิดผูก
(6)    ถุงเท้า สั้นสีขาว สีน้ำตาลหรือสีดำ
นักเรียนหญิง
(1)    เสื้อ ผ้าสีขาวคอปกบัว ผ่าด้านหน้าตลอด แขนยาว ปลายแขนจีบรูดมีสาบกว้างไม่เกิน 5 เซนติเมตร ตัว  เสื้อยาวคลุมสะโพก ไม่รัดรูป
(2)    เครื่องหมาย ใช้อักษรย่อ สัญลักษณ์หรือเข็มเครื่องหมายของสถานศึกษา ตามที่สถานศึกษากำหนด ปัก  หรือติดที่อกเสื้อเบื้องขวาและที่ผ้าคลุมศีรษะ
(3)    ผ้าคลุมศีรษะ ใช้ผ้าสีขาวเกลี้ยงไม่มีลวดลาย หรือสีเดียวกันกับผ้าของกระโปรง สี่เหลี่ยมจัตุรัส ความยาว  ด้านละ 100-120 เซนติเมตร ขณะสวมใส่เย็บติดตลอดตั้งแต่ใต้คางจนถึงปลายมุมผ้า
(4)    กระโปรง ใช้ผ้าสีเดียวกันกับสีผ้าของกระโปรงนักเรียนทั่วไปที่ใช้ในสถานศึกษานั้น แบบสุภาพ พับเป็นจีบ  ข้างละสามจีบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อสวมแล้วชายกระโปรงคลุมข้อเท้า
(5)    รองเท้า หนังหรือผ้าใบสีดำ มีสายรัดหลังเท้าหรือแบบหุ้มส้น หุ้มปลายเท้ามีส้นสูงไม่เกิน 2 นิ้ว ไม่มี  ลวดลาย
(6)    ถุงเท้า สั้นสีขาว ไม่มีลวดลาย ปลายถุงเท้าไม่พับ
 นักเรียนซึ่งนับถือศาสนาอิสลามในสถานศึกษาอื่นนอกจากสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม อาจ  เลือกแต่งเครื่องแบบนักเรียนตามวรรคหนึ่งหรือตามแบบที่สถานศึกษากำหนดได้ตามความสมัครใจ
          ข้อ 13 ให้สถานศึกษาโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการแต่ง วิธีการ และเงื่อนไขในการแต่งเครื่องแบบนักเรียน ดังนี้
(1)    ชนิดและแบบของเครื่องแบบ รวมทั้งจัดทำรูปเครื่องแบบตามระเบียบนี้ไว้เป็นตัวอย่าง
(2)    เครื่องหมายของสถานศึกษา
 การกำหนดรายละเอียดตามวรรคหนึ่ง ให้สถานศึกษาของความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีก  ชั้นหนึ่งหรือผู้ผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้น แล้วแต่กรณีและประกาศให้นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน  ทราบ
          ข้อ 14 สถานศึกษาใดมีความประสงค์จะขอใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นนอกจากที่กำหนดในระเบียบนี้ ให้ขออนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งหรือผู้กำกับดูแลสถานศึกษานั้นแล้วแต่กรณี
          ข้อ 15 สถานศึกษาใดจะกำหนดให้นักเรียนแต่งเครื่องแบบลูกเสือ เนตรนารี ยุวกาชาด นักศึกษาวิชาทหารหรือแต่งชุดพื้นเมือง ชุดไทย ชุดลำลอง ชุดฝึกงาน ชุดกีฬา ชุดนาฏศิลป์ หรือชุดอื่นๆ แทนเครื่องแบบนักเรียนตามระเบียบนี้ในวันใด ให้เป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนดโดยคำนึงถึงความประหยัดและเหมาะสม
          ข้อ 16 ในกรณีเหตุจำเป็นหรือมีเหตุผลพิเศษให้สถานศึกษาพิจารณายกเว้นหรือผ่อนผันการแต่งเครื่องแบบนักเรียนได้ตามความเหมาะสม
          ข้อ 17 นักเรียนซึ่งศึกษาในสถานศึกษาที่จัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้แต่งกายสุภาพ
          ข้อ 18 นักเรียนผู้ใดไม่แต่งเครื่องแบบนักเรียนโดยไม่ได้รับยกเว้นตามระเบียบนี้ให้สถานศึกษาพิจารณาลงโทษทางวินัยตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาตามความเหมาะสม
          ข้อ 19 สถานศึกษาใดที่ใช้เครื่องแบบนักเรียนอยู่แล้วตามระเบียบเดิม หรือใช้เครื่องแบบเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการก่อนวันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับให้คงใช้ได้ต่อไป
          ข้อ 20 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
........................................................................................................................................................................................
18. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียนนักศึกษาเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
          ข้อ 4
          สถานศึกษา หมายความว่า สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การเรียน วิทยาลัย สถาบันมหาวิทยาลัย หน่วยงานการศึกษาหรือหน่วยงานอื่นของรัฐหรือของเอกชน ที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษา
          หลักฐานทางการศึกษา หมายความว่า เอกสารอันเป็นหลักฐานทางการศึกษาของนักเรียนนักศึกษา ได้แก่ ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา สมุดประจำตัวนักเรียนนักศึกษา สมุดประจำชั้น บัญชีเรียกชื่อ ใบส่งตัวนักเรียนนักศึกษา หลักฐานแสดงผลการเรียน ประกาศนียบัตร หรือเอกสารอื่นใดในลักษณะเดียวกันหรือเอกสารที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้เป็นหลักฐานทางการศึกษา ตามระเบียบนี้
          องค์กรเอกชน หมายความว่า สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออย่างอื่นซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
          ข้อ 5 ให้สถานศึกษาถือเป็นหน้าที่ ในการที่จะรับเด็กที่อยู่ในวัยการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ เข้าเรียนในสถานศึกษา
          กรณีเด็กที่ย้ายที่อยู่ใหม่ สถานศึกษาต้องอำนวยความสะดวก และติดตามให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษาที่ใกล้กับที่อยู่ใหม่
          ข้อ 6 การรับนักเรียนนักศึกษาในกรณีที่ไม่เคยเข้าเรียนในสถานศึกษามาก่อน ให้สถานศึกษาเรียกหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามลำดับเพื่อนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา ดังต่อไปนี้
(1)    สูติบัตร
(2)    กรีที่ไม่มีหลักฐาน (1) ให้เรียกหนังสือรับรองการเกิด บัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้า  บ้าน หรือหลักฐานที่ทางราชการจัดทำขึ้นในลักษณะเดียวกัน
(3)    ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (1) หรือ (2) ให้เรียกหลักฐานที่ทางราชการออกให้ หรือเอกสารตามที่  กระทรวงศึกษาธิการกำหนดให้ใช้
(4)    ในกรณีที่ไม่มีหลักฐานตาม (1) (2) หรือ (3) ให้บิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือองค์กรเอกชนทำบันทึกแจ้ง  ประวัติบุคคล เป็นหลักฐานทางการศึกษา
(5)    ในกรณีที่ไม่มีบุคคล หรือองค์กรเอกชนตาม (4) ให้ซักถามประวัติบุคคลผู้มาสมุครเรียนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง    เพื่อนำลงรายการบันทึกแจ้งประวัติบุคคล เป็นหลักฐานที่จะนำมาลงหลักฐานทางการศึกษา
ข้อ 7 ให้สถานศึกษาจัดเก็บสำเนาเอกสารหลักฐานตามข้อ 6 (1) (2) และ (3) ซึ่งได้รับรองวามถูกต้อง
แล้ว ไว้เป็นหลักฐาน และคืนต้นฉบับแก่ผู้ปกครอง
สำหรับหลักฐานบันทึกแจ้งประวัติบุคคล ตามข้อ 6 (4) และ (5) ให้เก็บต้นฉบับไว้ที่สถานศึกษานั้น
ข้อ 8 ในขณะที่นักเรียนนักศึกษายังศึกษาอยู่ในสถานศึกษา เมื่อปรากฏว่ามีหลักฐานตามกฎหมายว่า
ด้วยการทะเบียนราษฎร มาแสดงภายหลัง ให้สถานศึกษาแก้ไขหลักฐานทางการศึกษาให้เป็นไปตามหลักฐานดังกล่าว โดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการนั้น
ข้อ 9 การบันทึกในหลักฐานทางการศึกษา ให้สถานศึกษาปฏิบัติดังนี้
(1)    ในกรณีที่เป็นหลักฐานทางการศึกษาเป็นรายบุคคล เช่น สมุดประจำตัวนักเรียน นักศึกษาใบส่งตัว  ประกาศนียบัตร เป็นต้น ไม่ต้องบันทึกหมายเหตุใดๆ
(2)    ในกรณีที่เป็นหลักฐานทางการศึกษาเป็นหลักฐานรวมที่ใช้บันทึกข้อมูลของนักเรียน นักศึกษาทั้งชั้นเรียน  หรือจำนวนมากกว่าหนึ่งคน เช่น ทะเบียนนักเรียนนักศึกษา สมุดประจำชั้น บัญชีรายชื่อ เป็นต้น ให้  หัวหน้าสถานศึกษาหรือผู้ได้รับมอบหมายบันทึกไว้เฉพาะในสมุดทะเบียนนักเรียนนักศึกษา โดยบันทึกลง  ในช่องหมายเหตุพร้อมกับลงนามกำกับข้อความว่า ไม่มีหลักฐานตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียน  ราษฎร
ข้อ 10 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
.........................................................................................................................................................................................
19. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยปีการศึกษา การเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549
ผู้ลงนามระเบียบคือ คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ขอ 4
กรณีพิเศษ หมายความวา กรณีจําเปนตองใชสถานศึกษาเพื่อประชุม สัมมนา ฝกอบรม จัดสอบ พักแรม จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรหรือกิจกรรมอื่นใดที่เปนประโยชนตอชุมชนหรือเหตุจําเปนอื่นที่ไมอาจเปิดเรียนไดตามปกติ
เหตุพิเศษ หมายความวา เปนเหตุที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติสาธารณะ
เลขาธิการ หมายความรวมถึงอธิบดีหรือหัวหนาสวนราชการที่เรียกชื่ออยางอื่นที่มีฐานะเปนกรม
ดวย
สถานศึกษา หมายความวา สถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียนศูนยการศึกษาพิเศษ ศูนยการเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออยางอื่นของรัฐหรือเอกชน ที่มีอํานาจหนาที่หรือมีวัตถุประสงคในการจัดการศึกษาตามกฎหมายวาดวยการศึกษาแหงชาติและตามประกาศกระทรวง
หัวหนาสถานศึกษา หมายความวา ครูใหญ อาจารยใหญ ผูอํานวยการ อธิการบดีหรือตําแหนงที่เรียกชื่ออยางอื่นในลักษณะเดียวกัน
นักเรียนและนักศึกษาหมายความวา บุคคลซึ่งกําลังรับการศึกษาอยูในสถานศึกษา
ขอ 6 ในรอบปการศึกษาหนึ่ง วันเริ่มตนปการศึกษา คือวันที่ 16 พฤษภาคม และวันสิ้นปการศึกษา คือวันที่ 15 พฤษภาคม ของปถัดไป
ขอ 7 ใหสถานศึกษาเปดและปดภาคเรียนตามปกติในรอบปการศึกษาหนึ่งตามที่กําหนดไว ดังตอไปนี้
(1) ภาคเรียนที่หนึ่ง วันเปดภาคเรียน วันที่ 16 พฤษภาคม วันปดภาคเรียนวันที่ 11 ตุลาคม
(2) ภาคเรียนที่สอง วันเปดภาคเรียน วันที่ 1 พฤศจิกายน วันปดภาคเรียนวันที่ 1 เมษายนของปถัดไป
สถานศึกษาใดประสงคจะเปดและปดภาคเรียนแตกตางไปจากที่กําหนดไวตามวรรคหนึ่งใหส่วน
ราชการเจาสังกัดเป็นผู้กําหนดตามที่เห็นสมควร
ขอ 8 ผูมีอํานาจสั่งปดสถานศึกษาเปนกรณีพิเศษ คือ
(1) หัวหนาสถานศึกษา สั่งปดไดไมเกิน 7 วัน
(2) ผูอํานวยการสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาใหขอตอสวนราชการเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น เมื่อไดสั่งปด
สถานศึกษาไปแลว สถานศึกษาตองทําการสอนชดเชยใหครบตามจํานวนวันที่ปิดนั้น
ขอ 9 การปดสถานศึกษาเนื่องจากเหตุพิเศษ ใหสั่งปดสถานศึกษาชั่วคราว เพื่อระงับเหตุหรือเพื่อปอง
กันภยันตรายอันอาจจะเกิดขึ้น โดยใหปฏิบัติดังนี้
(1)    หัวหนาสถานศึกษาสั่งปดไดไมเกิน 15 วัน
(2)    ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สั่งปิดได้ไม่เกิน 30 วัน ส่วนสถานศึกษาที่ไม่ได้สังกัดสำนักงาน  เขตพื้นที่การศึกษาให้ขอต่อส่วนราชการเหนือขึ้นไปหนึ่งชั้น
เมื่อได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้ว สถานศึกษาต้องทำการสอนชดเชยให้ครบตามจำนวนวันที่ปิดนั้น
ข้อ 10 เมื่อผู้มีอำนาจสั่งปิดสถานศึกษา ตามข้อ 9 ได้สั่งปิดสถานศึกษาไปแล้วแต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ยังไม่สงบหรือมีเหตุจำเป็นที่จะต้องสั่งปิดต่อไปอีก ให้อยู่ในดุลยพินิจหัวหน้าสถานศึกษา
ข้อ 11 ในระหว่างปิดสถานศึกษาชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามข้อ 8 หรือในระหว่างปิดสถานศึกษา
ชั่วคราวเนื่องจากเหตุพิเศษตามข้อ 9 หัวหน้าสถานศึกษาอาจสั่งให้ครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ประจำสถานศึกษานั้น มาปฏิบัติงานตามปกติหรือตามคำสั่งที่ได้รับมอบหมายก็ได้
ข้อ 12 การสั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราวให้ทำคำสั่งเป็นหนังสือ เว้นแต่การสั่งด้วยวาจา หรือการสั่งโดย
การสื่อความหมายในรูปแบบอื่น เมื่อผู้มีอำนาจได้สั่งปิดสถานศึกษาชั่วคราว แล้วทำให้คำสั่งเป็นหนังสือภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่สั่งการด้วยวาจาหรือสั่งโดยการสื่อความหมายในรูปแบบอื่น
ข้อ 13 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
...........................................................................................................................................................................
20. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ พ.ศ. 2550
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2550
ผู้ลงนามระเบียบคือ ปรีติยาธร เทวกุล ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 
............................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น