วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

อนุทิน 11.2

21. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสมุดหมายเหตุรายวัน พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2549
ผู้ลงนามระเบียบคือ คุณหญิง กษมา วรวรรณ ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 4
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาที่จัดดารศึกษาขั้นพื้นฐาน
หัวหน้าสถานศึกษา หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ลักษณะเดียวกับครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่หรือผู้อำนวยการหรือผู้รักษาราชการแทน
ข้อ 5 สถานศึกษาต้องใช้สมุดหมายเหตุรายวัน
ข้อ สถานศึกษาต้องรักษาสมุดหมายเหตุรายวันนี้ไว้ให้ดี อย่าให้ฉีกขาดสูญหาย
ข้อ ให้สถานศึกษาเขียนชื่อสถานศึกษาและลงรายการต่างๆ ที่หน้าปกสมุดหมายเหตุรายวัน ให้บริบูรณ์ไม่ย่อ ไม่ตัด และในใบหน้าต้องลงวัน เดือน ปี ที่เริ่มใช้สมุดหายเหตุรายวันเป็นตัวอักษร
ข้อ 8 สมุดหมายเหตุรายวัน สถานศึกษาต้องให้บุคคลดังต่อไปนี้ ลงชื่อกำกับ
(1)    สถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ที่ได้  รับมอบหมายลงชื่อกำกับ
(2)    สถานศึกษาในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนตำบล  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ให้นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  นายกเมืองพัทยา นายกองค์การบริหารส่วนตำบล หรือผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่เรียกชื่อ  อย่างอื่น หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงชื่อกำกับ
(3)    สถานศึกษา นอกจาก (1) และ (2) ให้หัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดหรือผู้กำกับดูแล หรือผู้ที่ได้รับมอบ  หมายลงชื่อกำกับ
ข้อ 9 สมุดหมายเหตุรายวันต้องให้มีเลขที่เป็นลำดับไปทุกหน้าห้ามมิให้แทรกหน้าหรือฉีกหน้าออกเป็น
อันขาดและห้ามมิให้เว้นที่ว่างไว้
          ข้อ 10 การลงหมายเหตุในสมุดหมายเหตุรายวันให้ลงเป็นปัจจุบันทุกวัน ข้อความที่ลงแล้ว จะคัดลอกขึ้นหน้าใหม่ หรือขึ้นเล่มใหม่ไม่ได้ นอกจากได้รับอนุญาตจากบุคคลตามข้อ 8
          ข้อ 11 การลงสมุดหมายเหตุรายวัน ต้องลงด้วยเส้นหมึกสีดำหรือสีน้ำเงิน ถ้ามีผิดตกที่ใด ห้ามขูดลบเพิ่มเติม แต่ให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยประณีต แล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึก สีแดงเช่นเดียวกัน การแก้ไขจากเดิมแห่งใด ผู้แก้ต้องลงชื่อและวันเดือนปีย่อกำกับไว้ที่ริมกระดาษทุกแห่ง ถ้ามีข้อความตกเติมให้ผู้ตกเติมลงลายมือชื่อหรือชื่อย่อไว้เป็นสำคัญ
          ข้อ 12 ให้หัวหน้าสถานศึกษามีหน้าที่จดข้อความลงในสมุดหมายเหตุรายวัน
          ข้อ 13 เรื่องที่จะเขียนลงในสมุดหมายเหตุรายวัน ได้แก่ ประวัติ ระเบียบหรือข้อบังคับ การเปลี่ยนแปลง การระดมทรัพยากร ผลการเรียน การแก้ไขหลักฐานทางทะเบียนการมาปฏิบัติงานและบำเหน็จความชอบของบุคคล การลงโทษนักเรียนและเหตุภยันตรายอื่น
          นอกจากนี้ เรื่องอื่นๆ ที่จะเขียนลงในสมุดหมายเหตุรายวันให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าสถานศึกษา ถ้าวันใดไม่มีเหตุการณ์อะไร ก็ให้ลงว่า ปกติ” ต้องเขียน วัน เดือน ปี และลงชื่อหัวหน้าสถานศึกษากำกับไว้ด้วย
          ข้อ 14 สมุดหมายเหตุรายวันที่ใช้อยู่ก่อนระเบียบนี้ ให้ยังคงใช้เป็นสมุดหมายเหตุรายวันของสถานศึกษาตามระเบียบนี้ต่อไป
          ข้อ 15 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
.........................................................................................................................................................................................
22. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการให้ข้าราชการลาไปศึกษาต่อ และฝึกอบรมภายในประเทศ พ.ศ.2538
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2538
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
............................................................................................................................................................................
23. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยใบสุทธิของสถานศึกษา และหนังสือรับรองความรู้ของสถานศึกษา พ.ศ.2547  
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 5 การออกใบสุทธิ เมื่อผู้จบการศึกษายื่นคำขอเป็นลายลักษณ์อักษรต่อหัวหน้าสถานศึกษาให้สถานศึกษาปฏิบัติดังนี้
(1)    ใบสุทธิที่สถานศึกษาได้เขียนกรอกรายการตามแบบพิมพ์ใบสุทธิไว้ครบถ้วน และผู้มีอำนาจลงนามแล้ว ให้  สถานศึกษาออกใบสุทธิฉบับนั้นได้
(2)    ใบสุทธิที่ผู้จบการศึกษาได้รับไปแล้วเกิดสูญหายหรือเสียหายใช้การไม่ได้ ให้สถานศึกษาสำเนาต้นขั้วใบ  สุทธิ และหัวหน้าสถานศึกษาลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง
ข้อ 6 การออกหนังสือรับรองความรู้ ให้ใช้ในกรณีที่สถานศึกษาไม่อาจออกใบสุทธิตามข้อ 5 โดยให้
สถานศึกษาตรวจสอบตรวจสอบหลักฐานการจบ หลักฐานแสดงผลการเรียน และหลักฐานการศึกษาอื่นที่เชื่อว่าผู้นั้น จบการศึกษา
ในกรณีที่หลักฐานจบการศึกษา หลักฐานแสดงผลการเรียน หรือหลักฐานการศึกษาอื่นสูญหายให้
สถานศึกษาไต่สวนและรวบรวมพยานหลักฐานเสนอหน่วยงานต้นสังกัดเหนืออีกชั้นหนึ่งและพิจารณาเห็นว่า เป็นหลักฐานที่เชื่อถือได้ จะอนุญาตให้สถานศึกษาออกหนังสือรับรองความรู้ให้ก็ได้
          ข้อ สถานศึกษาที่เลิกล้มด้วยเหตุผลใดๆ หรือโรงเรียนเอกชนที่โอนกิจการมาเป็นของรัฐให้หัวหน้าหน่วยงานที่เก็บรักษาหลักฐานของสถานศึกษานั้นๆ ไว้ เป็นผู้ออกใบสุทธิหรือหนังสือรับรองความรู้ตามข้อ 5 หรือข้อ 6 แล้วแต่กรณี
          ข้อ 8 ให้สถานศึกษาเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการออกใบสุทธิ หนังสือรับรองความรู้ได้ไม่เกินฉบับละ 100 บาท
ข้อ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
.........................................................................................................................................................................................
24. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ พ.ศ.2547  
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547
ผู้ลงนามระเบียบคือ อดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
สถาบันศึกษาปอเนอะ หมายความว่า สถาบันสังคมของชุมชนอิสลามที่เสริมสร้างการเรียนรู้ในทางศาสนาอิสลามและวัฒนธรรมอิสลาม เพื่อเสริมสร้างให้สมาชิกในชุมชนมีความรู้และความประพฤติที่ดีงามในการดำรงชีพอย่างสันติสุขและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ
โต๊ะครู หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
ผู้ช่วยโต๊ะครู หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะ
นายทะเบียน หมายความว่า นายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะประจำจังหวัด
สำนักงาน หมายความว่า สำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน หรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ตามกฎหมายโรงเรียนเอกชน แล้วแต่กรณี
ข้อ โต๊ะครูเจ้าของปอเนาะใดประสงค์จะจดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบ ป.น. 1
ข้อ 5 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมายเป็นนายทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะจังหวัด ทำหน้าที่จดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะและมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนและกำกับ ดูแล สถาบันศึกษาปอเนาะที่ได้จดทะเบียนแล้ว
ให้นายทะเบียนออกหลักฐานการจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ พร้อมเอกสารครบถ้วน ถูกต้อง ตามแบบ ป.น. 2
ข้อ ให้สำนักงานทำหน้าที่เป็นสำนักงานทะเบียนกลางสถาบันศึกษาปอเนาะเพื่อรวบรวมข้อมูลสถาบันศึกษาปอเนาะทุกจังหวัด และมีหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุนสถาบันศึกษาปอเนาะ และกำกับ ดูแลนายทะเบียนประจำจังหวัดให้ดำเนินการตามระเบียบนี้
ข้อ  สถานที่และบริเวณที่ตั้งสถาบันศึกษาปอเนาะต้องมีความเหมาะสมแก่การดำเนินการสอน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและไม่ขัดต่อสุขลักษณะหรืออนามัยของผู้เรียน
ข้อ 8 โต๊ะครูที่ขอจดทะเบียนสถาบันศึกษาปอเนาะต้องมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองโดบชอบด้วยกฎหมายในที่ดินและอาคารที่ใช้ดำเนินการสอน
ข้อ 9 โต๊ะครูต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ดังต่อไปนี้
(1)    มีสัญชาติไทย
(2)    มีความรู้วิชาสามัญไม่ต่ำกว่าหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับในช่วงชั้นปีที่จบ
(3)    มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดี โดยได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หรือ  สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อ 10 โต๊ะครูอาจมอบหมายผู้ช่วยโต๊ะครูทำการสอนในสถาบันศึกษาปอเนาะได้ โดยแจ้งให้นาย
ทะเบียนทราบ ตามแบบ ป.น. 3
ผู้ช่วยโต๊ะครูต้องมีคุณสมบัติและความรู้ ตามข้อ 9 (1) (2) และ (3)
ข้อ 11 โต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครูที่ไม่มีความรู้วิชาสามัญตามที่กำหนดไว้ในระเบียบนี้ แต่มีความรู้
สามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ให้ยื่นคำขอผ่อนผันต่อนายทะเบียนโดยโต๊ะครูหรือผู้ช่วยโต๊ะครูจะต้องเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่สมาคมโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้จัดขึ้นภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับการผ่อนผัน
          ข้อ 12 กรณีที่ผู้เรียนในสถานศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตาม พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
          ข้อ 13 สถาบันศึกษาปอเนาะอาจจะพัฒนาให้ผู้เรียนได้ฝึกอบรมวิชาชีพร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีอาชีพและสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุข
          ข้อ 14 ให้สถาบันปอเนาะรายงานการดำเนินงาน พร้อมจำนวนผู้เรียนและผู้ช่วยโต๊ะครูให้ถูกต้องตามความเป็นจริง พร้อมทั้งสภาพปัญหา อุปสรรคและความต้องการที่จะขอรับการช่วยเหลือต่อนายทะเบียนทุกๆ 6 เดือน ตามแบบ ป.น. 4
          ข้อ 15 ให้สถาบันศึกษาปอเนาะสิ้นสภาพ เมื่อ
(1)    โต๊ะครูถึงแก่กรรม เว้นแต่ทายาทซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 9 ได้ยื่นคำขอแสดงความจำนงขอดำเนินการ  ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่โต๊ะครูถึงแก่กรรม
(2)    โต๊ะครูยื่นคำร้องขอเลิกสถาบันศึกษาปอเนาะ
(3)    ถูกเพิกถอนการจดทะเบียน เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามระเบียบนี้
ข้อ 16 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบัน
กระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสมทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
ข้อ 17 ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความและวินิจฉัยปัญหา
เกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้   
.........................................................................................................................................................................................
25. ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ตอบ     ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยสถาบันศึกษาปอเนอะ (ฉบับที่2) พ.ศ.2548
ประกาศใช้เมื่อวันที่ กันยายน 2548
ผู้ลงนามระเบียบคือ จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3            
โต๊ะครู หมายความว่า ผู้สอนที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีเป็นที่เคารพนับถือของชุมชนและเป็นเจ้าของปอเนาะ
ผู้ช่วยโต๊ะครู หมายความว่า ผู้ที่มีความรู้ด้านศาสนาอิสลามเป็นอย่างดีซึ่งโต๊ะครูให้ช่วยสอนในปอเนาะ
ข้อ 4 โต๊ะครูเจ้าของปอเนาะใดประสงค์จะจดทะเบียนเป็นสถาบันศึกษาปอเนาะให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียนตามแบบ ป.น. 1
ข้อ 12 กรณีที่ผู้เรียนในสถาบันศึกษาปอเนาะเป็นเด็กที่ต้องเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับตาม พ.ร.บ. การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 โต๊ะครูและผู้ปกครองต้องจัดให้เด็กได้เข้าเรียนจนจบการศึกษาภาคบังคับ หรืออาจพัฒนาร่วมกับสถานศึกษาอื่นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาวิชาสามัญในระดับที่สูงกว่าการศึกษาภาคบังคับ
ข้อ 16 เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาชุมชนอิสลามให้สอดคล้องกับสภาพในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการอาจส่งเสริมและพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะตามความเหมาะสมทั้งนี้ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ
............................................................................................................................................................................
26. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ตอบ     ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วย การมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่น ของผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2546
ประกาศใช้เมื่อวันที่ สิงหาคม 2546
ผู้ลงนามระเบียบคือ นายไพฑูรย์ จัยสิน อธิบดีกรมสามัญศึกษา
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
ข้าราชการ หมายความว่า ข้าราชการในสังกัดสำนักงานเขตพิ้นที่การศึกษา
สถานศึกษา หมายความว่า สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้อำนวยการ หมายความว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ข้อ 4 ผู้อำนวยการอาจมอบหมายหรือมอบอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นให้ ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ ปฏิบัติราชการแทน คือ
(1)    รองผู้อำนวยการ
(2)    หัวหน้ากลุ่ม
(3)    หัวหน้าศูนย์
(4)    หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น ที่มีฐานะเทียบเท่าหัวหน้ากลุ่ม
(5)    ผู้อำนวยการสถานศึกษา
(6)    ข้าราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตั้งแต่ระดับ 8 ขึ้นไป โดยความเห็นชอบของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 5 การมอบหมายหรือ มอบอำนาจ ให้ข้าราชการปฏิบัติราชการแทน ตามข้อ 4 ให้คำนึงถึงความ
เป็นอิสระ การบริหารงานที่คล่องตัวในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา และของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งความรู้ ความสามารถ และความเหมาะสมอื่นๆ ของผู้รับอบอำนาจ เพื่อประโยชน์สูงสุดของทางราชการ
          ข้อ 6 ในระยะเริ่มแรกที่ยังมิได้มีการกำหนดตำแหน่งอัตรา หรือแต่งตั้งข้าราชการลงตำแหน่งตามโครงสร้างใหม่ ผู้อำนวยการอาจมอบหมาย หรือมอบอำนาจให้ตามระเบียบนี้
ข้อ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้
............................................................................................................................................................................
27. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ตอบ     ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยหลักเกณฑ์ การตรวจสอบ กำกับ ติดตาม ดูแล และรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ พ.ศ.2551
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2551
ผู้ลงนามระเบียบคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยสรุปในระเบียบนี้ คือ
ข้อ 3
หน่วยงาน หมายความว่า โรงเรียน สถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ผู้รับมอบอำนาจ หมายความว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับมอบอำนาจตามคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ปฏิบัติราชการแทนเลขาธิการคณะกรรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อ 4 การใช้อำนาจ การตรวจตอบ กำกับ ติดตาม ดูแลและรายงานผลการใช้อำนาจของผู้รับมอบอำนาจ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1)    เพื่อประสานงานและเร่งรัดให้หน่วยงาน นำนโยบายของรัฐบาล กระทรวงและสำนักงานคณะกรรมการ  การศึกษาขั้นพื้นฐานไปจัดทำแผนงาน งานและโครงการให้ครบถ้วน
(2)    เพื่อให้การปฏิบัติงานของหน่วยงานและข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของสำนักงานคณะ  กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นไปโดยเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ ประหยัด และสมประโยชน์ต่อทาง  ราชการ
(3)    เพื่อทราบความก้าวหน้า ความสำเร็จ ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการมอบอำนาจตามแผนงาน  งานและโครงการ ตลอดจนผลกระทบอันจะพึงมี
(4)    เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประมวล วิจัย ประเมินผล และเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ หรือ  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้วแต่กรณี เพื่อทราบ พิจารณาหรือวินิจฉัยสั่งการ เพื่อ  ปรับปรุงแก้ไขการมอบอำนาจให้สมประโยชน์ต่อทางราชการ
ข้อ 5 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีอำนาจในการสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การ
ปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ให้มีอำนาจในการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการหรือแนวทางที่ใช้เป็นกรอบที่ชัดเจน ในการกำกับดูแลการปฏิบัติราชการตามแผนงานและโครงการของผู้รับมอบอำนาจดังนี้
(1)    วางนโยบาย แนวทางการตรวจสอบและประเมินผลในหน่วยงานผู้รับมอบอำนาจรวมถึงการกำหนด  ประเด็นหัวข้อการตรวจสอบประเมินผล
(2)    ให้ความเห็นชอบแนวทางการตรวจและประเมินผล ของสำนักที่ภารกิจด้านการตรวจสอบและประเมินผล
(3)    ส่งเสริม ผลักดัน ตรวจสอบ และเสนอแนะมาตรการ เพื่อให้แต่ละหน่วยงานของผู้รับมอบอำนาจดำเนิน  การให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบและประเมินผลการมอบอำนาจและหลักการบริหาร  กิจการบ้านเมืองที่ดี
ข้อ 6 ให้หน่วยงานของผู้รับมอบอำนาจมีหน้าที่ดังนี้
(1)    อำนวยความสะดวกในการตรวจราชการ หรือตามความประสงค์ของสำนักที่มีภารกิจด้านการ
 ตรวจสอบและประเมินผล
(2)    แนะนำการปฏิบัติตามคำสั่งมอบอำนาจให้ข้าราชการในสังกัดได้ทราบอย่างถ่องแท้โดยทั่วกัน  
 เพื่อให้การปฏิบัติราชการของข้าราชการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และหากมีข้อกฎหมายระเบียบ คำสั่ง    ข้อบังคับ หนังสือ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่ควรปรับปรุงการมอบอำนาจของเลขาธิการคณะกรรมการการ  ศึกษาขั้นพื้นฐานให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ให้นำเหตุผลและรายละเอียดเสนอเพื่อพิจารณาเป็นกรณีๆ
(3)    กรณีหน่วยงานผู้รับมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนได้ดำเนินการในเรื่องใดไปและจะต้องรายงานไปยัง  ส่วนราชการอื่นตามกฎหมาย ให้รายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบด้วย
(4)    จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามการมอบอำนาจ ตามงานและโครงการที่กำหนดไว้ในลักษณะภาพรวม  เพื่อทราบปัญหาอุปสรรค์และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการมอบอำนาจต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษา  ขั้นพื้นฐานอย่างน้อยปีละครั้ง
(5)    ปฏิบัติการอื่นตามที่เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมาย
ข้อ ให้เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานรักษาการตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจ
ตีความและวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
............................................................................................................................................................................
28. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ตอบ     ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินรายได้สถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2549
ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549
ผู้ลงนามระเบียบคือ พรนิภา ลิมปพยอม เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 
............................................................................................................................................................................
29. ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ตอบ     ระเบียบสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานว่าด้วยการบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ.2551
ประกาศใช้เมื่อวันที่ พฤษภาคม 2551

ผู้ลงนามระเบียบคือ คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
............................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น