วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ข้อสอบปลายภาค

ข้อสอบปลายภาค

คำสั่งข้อสอบมีทั้งหมด 7 ข้อ ให้นักศึกษาทำทุกข้อ ห้ามลอกกันเขียนคำตอบโดยใช้สำนวนเหมือนกันถือว่ามิใช่ความคิดของนักศึกษาเอง ปรับให้ตกทั้งคู่ ข้อละ 10 คะแนน
1. กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาความเหมือนกันหรือต่างกัน อธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบอย่างย่อๆ ให้ได้ใจความพอเข้าใจ 
ตอบ     กฎหมายทั่วไปกับกฎหมายการศึกษา มีที่มาเหมือนกันนั้นคือ ต่างก็มาจากระบบระเบียบแบบแผนที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นกฎเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในสังคมนั้นๆ มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นแบบอย่างที่นิยมปฏิบัติตามกันมา ผ่านความเห็นชอบจากบุคคลที่มีการคลุกคลีกับส่วนนั้นมามาก จนนำไปบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรขึ้นเป็นกฎหมาย แต่จะมีความแตกต่างกันตรงที่กฎหายทั่วไปจะมีที่มาจากบริบทสังคมของประชากรทั้งประเทศ แต่กฎหมายการศึกษาจะมีที่มาจากการเจาะจงไปในเรื่องของการศึกษาภายในประเทศ
.........................................................................................................................................................................................

2. รัฐธรรมนูญที่ว่าด้วยการศึกษา มีสาระหลักที่สำคัญอย่างไรในประเด็นอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการศึกษายกตัวอย่างประกอบ พอเข้าใจ (รัฐธรรมนูญตั้งแต่แต่ฉบับแรกถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2550)
ตอบ        รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2475 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวสยามมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2489 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การตั้งคณะกรรมการพรรคการเมือง การอาชีพ
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2490 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การชุมนุมสาธารณะ การตั้งสมาคม การอาชีพ
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2492 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมือง ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ /บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา เพื่อให้เป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย /โดยรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ /การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน /สนับสนุนทางศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2511 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรม ไม่ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรสถานศึกษา /บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา /โดยรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ /การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน /สนับสนุนทางศิลปวิทยาและวิทยาศาสตร์
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2517 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในการรับการศึกษาขั้นมูลฐาน ตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ /มีเสรีภาพในวิชาการ /โดยรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะ /การศึกษาอบรมภาคบังคับในสถานศึกษาของรัฐและของท้องถิ่นจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน /สนับสนุนวิจัยศิลปะและวิทยาการ สถิติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในการศึกษาอบรม ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมือง ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับ /โดยรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและฝึกอบรมตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน /สนับสนุนวิจัยศิลปะและวิทยาการ สถิติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี /รัฐพึงสนับสนุนและส่งเสริมพัฒนาเยาวชนของชาติให้เป็นผู้มีความสมบูรณทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย ในการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ /โดยรัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและฝึกอาชีพตามความเหมาะสมและความต้องการของประเทศและพึงส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทุกระดับ จะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน พึงช่วยผู้ยากไร้และด้อยโอกาสให้ได้รับทุนและปัจจัยต่าง ในการศึกษาอบรมและการฝึกอาชีพ /สนับสนุนวิจัยศิลปะและวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี /พึงรักษา ส่งเสริมและพัฒนาความเสมอภาคของชายและหญิง /พึงส่งเสริมประชาชนให้เข้าใจเลื่อมใสศรัทธาในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ คือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ มีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดี /ในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย /พึงรักษา ส่งเสริมและพัฒนาความเสมอภาคของชายและหญิง เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีชีวิตที่ดี /ต้องจัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ /สนับสนุนวิจัยศิลปวิทยาการต่างๆ เร่งรัดพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พัฒนาวิชาชีพครูและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
                รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ ชาวไทยมีสิทธิและหน้าที่ ในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปีรัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพหรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก การจัดการศึกษาองค์วิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมจากรัฐ /มีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับการคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดี /พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้มีความสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ /ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพเท่าเทียมกัน /สนับสนุนการศึกษาวิจัยศิลปวิทยาการต่างๆ /ส่งเสริมความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่วัฒนธรรม
........................................................................................................................................................................................
3. พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ มีกี่มาตรา และมีความสำคัญอย่างไร และประเด็นหรือมาตราใดที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ
ตอบ      การศึกษาภาคบังคับมี 20 มาตรา มีความสำคัญคือจะเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกำหนดให้บิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีหน้าที่จัดให้บุตรหรือบุคคลซึ่งอยู่ในความดูแลได้รับการศึกษาภาคบังคับจำนวนเก้าปี โดยให้เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็บเข้าเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจนอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่จะสอบได้ชั้นที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับ ประเด็นหรือมาตราที่ผู้ปกครองต้องปฏิบัติและต้องยึดถือปฏิบัติ คือ
มาตรา 6 ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา
............................................................................................................................................................................
4. ท่านเข้าใจว่า หากมีใครเข้ามาปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่เปิดการสอนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น สามารถมาปฏิบัติการสอนได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้มีความผิดหรือบทกำหนดโทษอย่างไร ถ้าได้จะต้องกระทำอย่างไรมิให้ผิด ตามพระราชบัญญัตินี้
ตอบ     กรณีสอนทั้งปีที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูนั้น ไม่สามารถมาปฏิบัติการสอนได้ (พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๔๖ ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงด้วยวิธีใดๆ ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิ หรือพร้อมจะประกอบวิชาชีพ โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากคุรุสภาและห้ามมิให้สถานศึกษารับผู้ไม่ได้รับใบอนุญาตเข้าประกอบวิชาชีพควบคุมในสถานศึกษา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคุรุสภา) หากผู้ใดสอนโดยไม่มีใบอนุญาตจะต้องถูกดำเนินการโดยต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
.........................................................................................................................................................................................
5. สมบัติ เป็นครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ได้ประพฤติผิดกระทำทารุณกรรมต่อเด็กหรือเยาวชน หากเราพิจารณาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 จะต้องทำอย่างไร และมีบทลงโทษอย่างไร
ตอบ     พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มาตรา 26 (1) กระทำหรือละเว้นการกระทำอันเป็นการทารุณกรรมต่อร่างกายหรือจิตใจของเด็ก
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำและปรับ
............................................................................................................................................................................
6. ช่วงที่นักศึกษาไปทดลองสอนที่โรงเรียนเทอม 2 และในเทอมต่อไป นักศึกษาเข้าไปทดลองสอนจริง นักศึกษาคิดว่าจะนำกฎหมายการศึกษาไปใช้โดยกำหนดคนละ 2 ประเด็นที่คิดว่าจะนำกฎหมาย ไปใช้ได้ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ     การนำกฎหมายการศึกษาไปใช้ในเรื่องการลงโทษนักเรียน
-โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี 4 สถาน ดังนี้
(1)    ว่ากล่าวตักเตือน
(2)    ทำทัณฑ์บน
(3)    ตัดคะแนนความประพฤติ
(4)    ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
-ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษด้วยความโกรธ
หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนและนักศึกษา และความร้ายแรงของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
          -การลงโทษนักเรียนและนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดีของนักเรียนและนักศึกษาให้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
          ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมายเป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
          -ว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
          -การทำทัณฑ์บนใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับสภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าวตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
          -การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิดและรับรองการทำทัณฑ์บนไว้
          -การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนนความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
          -ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิดที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
          เมื่อนักเรียนไม่เชื่อฟัง ส่งเสียงรบกวนเพื่อนเวลาที่คุณครูสอน หรือไม่อยู่ในระเบียบ ดิฉันสามารถนำการลงโทษเหล่านี้ไปปรับใช้กับนักเรียนได้อย่างเหมาะ เช่น การว่ากล่าวตักเตือนนักเรียน
          และเรื่องการขอแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษา
-การขอแก้วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาให้ปฏิบัติดังนี้
ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดไม่ตรงกับความเป็นจริงด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่ของสถานศึกษาเขียนผิดพลาดหรือเขียนตก ให้หัวหน้าสถานศึกษาเป็นผู้แก้ไขให้ถูกต้องตามที่เป็นจริงในหลักฐาน และการแก้ไข ตกเติมให้ขีดฆ่าด้วยเส้นหมึกสีแดง โดยประณีตแล้วเขียนเติมลงใหม่ด้วยเส้นหมึกสีแดงโดยลงนามผู้แก้ และวัน เดือน ปี ย่อกำกับไว้ทุกแห่ง
-ในกรณี วัน เดือน ปีเกิด ของนักเรียนและนักศึกษาผิดพลาดและมีผู้ร้องขอให้แก้ ผู้ร้องจะต้องส่งคำ
ร้องตามแบบท้ายระเบียบนี้ และเอกสารหลักฐานมาแสดงต่อสถานศึกษา เพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย วัน เดือน ปีเกิด ตามลำดับความสำคัญ ดังนี้ คือ
(ก)    สูติบัตรหรือทะเบียนคนเกิด
(ข)    ถ้าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ก) สูญหายหรือถูกทำลายก็ให้ส่งเอกสารอื่นๆ ที่หน่วยราชการออกให้ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนทหาร ทะเบียนคนต่างด้าว บัตรประจำตัวประชาชน
(ค)    ในกรณีที่ปรากฏว่าเอกสารหลักฐานตามข้อ (ข) ที่หน่วยราชการออกให้นั้น วัน เดือน ปีเกิดไม่ตรงกัน ให้พิจารณาข้อเท็จจริงเป็นรายๆ ไป
-เมื่อทางสถานศึกษาได้พิจารณาวินิจฉัยเอกสารตามข้อ 5 (2) (ก) หรือข้อ 5 (2) (ข) หรือได้ทำ
การสอบสวนตามข้อ 5 (2) (ค) แล้ว ถ้าปรากฏชัดแจ้งว่า วัน เดือน ปีเกิด ผิดพลาดไม่ตรงกับหลักฐานความเป็นจริงให้ทำรายงานส่งคำร้องขอแก้วัน เดือน ปีเกิด พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานดังกล่าวข้างต้น และสำเนาการสอบสอน (ถ้ามี) ไปตามระเบียบราชการเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบแก้ไขเป็นรายๆ ไป
เมื่อนักเรียนมีปัญหาในเรื่องของการเปลี่ยนชื่อ สกุล ดิฉันสามารถดำเนินการเปลี่ยนชื่อให้กับ
นักเรียนได้ตามลำดับขั้นตอนได้
.........................................................................................................................................................................................
7. ให้นักศึกษาสะท้อนความคิดการใช้ เว็บบล็อก (weblog) ในการนำมาใช้จัดการเรียนการสอนวิชานี้ พอสังเขป
ตอบ     เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ดีค่ะ เหมาะสมกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันของนักศึกษา ทำให้ไม่ต้องเปลืองกระดาษหรือเอกสาร เพราะเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายนั้นมีจำนวนมาก สามารถทำให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลได้หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอาจารย์และนักเรียน ทั้งยังสามารถเห็นความคิดของเพื่อนคนอื่นๆ ที่นอกเหนือไปจากที่เราคิดได้
.........................................................................................................................................................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น